Page 64 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 64

ประเภทโปรตีนที่ขับถ่ายสู่แหล่งน้ำในรูปไนโตรเจน ทำให้แพลงก์ตอน

               มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาวะน้ำเสีย
                        -  อาหารควรมีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสม คือ มี

               ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ เกาะตัวแน่น ไม่มีฝุ่น มีสีสม่ำเสมอทั้งเม็ด ไม่มี
               กลิ่นน้ำมันหืน มีความคงตัวของอาหารในน้ำสูง ไม่ละลายน้ำง่าย

               เพื่อลดการแตกตัวของอาหารในน้ำ
                        -  เกษตรกรผู้เลี้ยงควรมีการตรวจสอบคุณภาพอาหาร

               อย่างง่าย โดยนำอาหารใส่ภาชนะเติมน้ำ คนเบาๆ สักครู่ แล้วสังเกต
               การเปลี่ยนสีน้ำและความขุ่นของน้ำว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อย

               เพียงใด และตรวจสอบปริมาณตะกอนในน้ำ ตลอดจนลักษณะอาหาร
               ในน้ำว่ามีการละลายแตกตัวมากน้อยเพียงใด สำหรับอาหารปลาควร

               ทดสอบในเวลา 30 นาที ส่วนอาหารกุ้งทดสอบด้วยวิธีการเดียวกัน
               ในเวลา 2 ชั่วโมง

                        -  อาหารเม็ดลอยน้ำควรมีเปอร์เซ็นต์เม็ดลอยน้ำ
               มากกว่าร้อยละ 90 ในเวลา 1 ชั่วโมง

                        -  ควรให้อาหารแก่สัตว์น้ำแต่ละมื้อในปริมาณที่พอเพียง  คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
               ไม่มากจนเกินไป เพราะสารอาหารตกค้างจะเป็นของเสีย เมื่อเกิดการ

               ย่อยสลายก็จะทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง
                        -  ความถี่ในการให้อาหาร  ควรปรับตามขนาดสัตว์น้ำ

               เช่น ปลาขนาดเล็กควรให้อาหาร 3 - 4 มื้อต่อวัน ปลาในระยะเติบโต
               ให้อาหารที่ความถี่ 1 - 2 มื้อ การให้อาหารบ่อย สัตว์น้ำจะกินอาหาร

               มากขึ้น จึงได้รับโภชนะมากเกินความต้องการ มีการขับถ่ายของเสีย
               มากขึ้น  และมีอาหารส่วนที่ละลายน้ำมากขึ้น  คุณภาพน้ำจึง

               เสื่อมโทรมเร็ว

                                                                               57
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69