Page 60 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 60
แหล่งธรรมชาติเติมเข้าบ่อเพื่อให้สัตว์น้ำเจริญเติบโตได้ดี ปริมาณและ
ความถี่ของการระบายน้ำระหว่างการเลี้ยงจะแตกต่างกันไปตามชนิด
ของสัตว์น้ำ ปริมาณและคุณภาพของน้ำในบริเวณแหล่งเพาะเลี้ยง
2. ช่วงซาวจับสัตว์น้ำ หรือการทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาด
ขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำภายในบ่อให้เหลือ
น้อยลงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำที่เหลือในบ่อ ในการเลี้ยงสัตว์
น้ำ เกษตรกรจะเริ่มเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กหรืออายุน้อย และปล่อย
ในปริมาณมากเพื่อทดแทนสัตว์น้ำที่อาจตายระหว่างการเพาะเลี้ยง
เมื่อสัตว์น้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น ความหนาแน่นในบ่อเพาะเลี้ยงมีมากขึ้น
เกษตรกรจะทยอยจับสัตว์น้ำออกบางส่วน อาจนำไปจำหน่ายหรือ
เพาะเลี้ยงต่อในบ่ออื่น และจะมีการระบายน้ำออกจากบ่อประมาณ
ร้อยละ 20 ของปริมาณทั้งหมดเพื่อความสะดวกในการจับสัตว์น้ำ
3. ช่วงเก็บผลผลิต เป็นช่วงที่เกษตรกรจับสัตว์น้ำทั้งบ่อเพื่อ
จำหน่าย เกษตรกรจะระบายน้ำออกหมดและเตรียมบ่อเพื่อเพาะ
เลี้ยงสัตว์น้ำในรอบการเลี้ยงต่อไป
จะเห็นได้ว่าในแต่ละปีจะมีของเสียจากการเลี้ยงสัตว์น้ำ คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
ระบายสู่แหล่งน้ำสาธารณะปริมาณมาก ทั้งในช่วงระหว่างการเลี้ยง
ในระหว่างการจับสัตว์น้ำ และในช่วงการเก็บผลผลิต เนื่องจากเป็น
กิจกรรมที่มีการใช้น้ำในปริมาณมาก ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่อาจก่อให้
เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก
น้ำทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีปริมาณสารอินทรีย์สูง มีธาตุอาหาร
ในน้ำมากจนแพลงก์ตอนมีการเติบโตมากผิดปกติ ทำให้ปริมาณ
ออกซิเจนในน้ำลดลง จนเป็นสาเหตุให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม และ
ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน เกิดปัญหาเหตุเดือดร้อน
รำคาญจากการประกอบกิจการ เช่น ปัญหากลิ่นเหม็นจากน้ำทิ้งและ
53