Page 59 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 59
น้ำทิ้งจากกระบวนการเลี้ยงสัตว์น้ำ
ความรุนแรงของปัญหาน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจะแตกต่าง
กันตามชนิดสัตว์น้ำ ความหนาแน่นในการเลี้ยงและชนิดอาหารที่
เลือกใช้ ตลอดจนความถี่ในการถ่ายเทน้ำ ตัวอย่างเช่น
- การเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารสดชนิดปลาเป็ดผสมรำ
แม้ว่าจะมีการถ่ายเทน้ำทุกวัน คุณภาพน้ำก็มีความสกปรกมากกว่า
การเลี้ยงปลาดุกที่ใช้อาหารสดประเภทหัวไก่และไส้ไก่ เนื่องจาก
อาหารปลาเป็ดผสมรำมีขนาดเล็กละเอียด ละลายน้ำได้ง่ายกว่าไส้ไก่
คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
- การเลี้ยงปลานิลที่ใช้อาหารสดประเภทปุ๋ย คุณภาพน้ำมี
ความสกปรกมากกว่าการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ซึ่งใช้อาหารเม็ด
เนื่องจากปุ๋ยมีตะกอนของเสียมาก น้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลานิลจึงมี
สภาพเสื่อมโทรมมากกว่าน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
- น้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งทะเลมักจะมีปริมาณสารอินทรีย์สูง
มีระดับแอมโมเนีย และไนไตรท์สูงกว่าน้ำธรรมชาติ ปริมาณออกซิเจน
ที่ละลายอยู่ในน้ำต่ำ มีปริมาณแพลงก์ตอนในน้ำสูง และอาจมียา
ปฏิชีวนะและสารเคมีปนเปื้อน บางครั้งอาจมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่
ในช่วงที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เมื่อระบายลงสู่
แหล่งน้ำสาธารณะ จะทำให้น้ำในแหล่งน้ำสาธารณะมีคุณภาพต่ำลง
และอาจทำให้สัตว์น้ำมีการเจริญเติบโตต่ำกว่าปกติ ไม่สืบพันธุ์ หรือ
ทำให้สัตว์น้ำบางชนิดตายลง
น้ำทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์น้ำ เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการเลี้ยง
3 ช่วง คือ
1. ระหว่างการเลี้ยง เกษตรกรจะระบายน้ำจากบ่อเพาะ
เลี้ยงลงสู่แหล่งน้ำภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม พร้อมกับนำน้ำจาก
52