Page 62 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 62

-  มีการดูแลปรับปรุงพื้นที่บริเวณฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

               ให้สะอาด ไม่มีเศษพืชใบไม้ทับถม เพื่อป้องกันการเน่าเสียของน้ำ
               และป้องกันการชะล้างซากเน่าเปื่อยสู่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน

                      2.  การออกแบบฟาร์ม
                        -  ควรออกแบบบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีขนาดเล็ก  แต่มี

               จำนวนหลายบ่อ เพื่อให้สามารถจัดการด้านการเลี้ยงได้สะดวก อีกทั้ง
               ยังทำให้บ่อบำบัดน้ำทิ้งมีขนาดลดลงและสามารถสลับบ่อเลี้ยงใช้เป็น

               บ่อบำบัดได้
                        -  พื้นที่สำหรับจัดทำระบบบำบัดคิดเป็นพื้นที่ประมาณ

               ร้อยละ 5 – 30 ของพื้นที่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งขนาดพื้นที่บ่อบำบัด
               จะขึ้นกับชนิดสัตว์น้ำ และขนาดพื้นที่บ่อเลี้ยงแต่ละบ่อ เช่น บ่อเลี้ยง

               ปลาช่อนจะใช้ขนาดพื้นที่บ่อบำบัดน้ำทิ้งมากกว่าบ่อเลี้ยงปลาดุก
               เป็นต้น

                      3.  การเตรียมบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
                        การเตรียมบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นการปรับสภาพดินพื้นบ่อ

               ให้เหมาะสมกับการเลี้ยงและลดการสะสมของเสียในดินพื้นบ่อ ซึ่งจะ   คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
               ส่งผลให้คุณภาพน้ำในระหว่างการเลี้ยงเสื่อมโทรมช้าลง ลดอัตราการ

               เปลี่ยนถ่ายน้ำ ทำให้อัตราการรอดและการเติบโตของสัตว์น้ำสูงขึ้น
               สภาพบ่อเลี้ยงดีขึ้น การเตรียมบ่อเลี้ยงจึงควรดำเนินการ ดังนี้

                        -  หลังการเลี้ยงสัตว์น้ำ  เมื่อลอกเลนแล้วควรตากบ่อ
               จะเป็นการระบายการสะสมของอินทรีย์สารในดินพื้นบ่อเลี้ยงที่มี

               มากเกินไป
                        -  การใช้ปูนขาวโรยทั่วบ่อในขณะที่ดินยังเปียกชื้น

               เป็นการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้เป็นกลาง และการ
               เพิ่มอากาศในน้ำพื้นก้นบ่อหลังการจับสัตว์น้ำ  ช่วยในการสลาย
                                                                               55
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67