Page 205 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 205
185
และการติดตามประเมินผล โดยให้ความสำคัญกับการติดตามความก้าวหน้าการประเมินผลสำเร็จ
และผลกระทบของการ ดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนําเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับ
Regulator และ Provider
5.3 แนวทางการติดตามและประเมินผล
แนวทางการติดตามและประเมินผลการนำแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก
เฉียงเหนือตอนกลาง พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2566) สู่การปฏิบัติ ดังนี้
5 . 3.1 การประเมินผลกระบวนการ (Process evaluation) หรือ การประเมิน
ประสิทธิภาพ (Efficiency evaluation) จะเน้นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการหรือกิจกรรม
โดยศึกษากระบวนการว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดที่จะส่งผลให้เกิดผลงาน (Output)
ของโครงการโดยประเด็นการพิจารณามีดังนี้
(1) การดำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนว่าสามารถส่งเสริมหรือเป็นปัญหาอุปสรรค
ในการบรรลุผลงาน (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)
(2) การจัดหาทรัพยากร (Resources) ของโครงการในแต่ละขั้นตอนตามระยะเวลา
ที่กำหนด
(3) วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุมที่มีผลต่อการดําเนินกิจกรรม
ทั้งทางบวกและทางลบ
(4) มูลค่าของผลงานที่ได้รับเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่าย
5.3.2 การประเมินผลที่ได้รับ (Project evaluation) หรือการประเมินประสิทธิผล
(Effectiveness evaluation) จะเน้นการวิเคราะห์ประสิทธิผลของโครงการโดยผลงาน (Outputs)
ของโครงการสามารถนําไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ (Project purpose) ได้หรือไม่
มากน้อยเพียงใด โดยมีประเด็น การประเมินจะจารณาดังนี้
(1) ประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนโครงการ หรือกิจกรรม
ตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้
(2) ประเมินผลโดยการวิเคราะห์หาความคุ้มค่า (Cost-effectiveness) ของ
แผนงานโครงการ หรือกิจกรรม
(3) วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่อยู่นอกเหนือการควบคุมที่มีผลต่อการดำเนินแผนงาน
โครงการ หรือกิจกรรมทั้งทางบวกและทางลบ
5.3.3 การประเมินผลกระทบ (Impact evaluation) จะเน้นการวิเคราะห์ผลที่ได้รับอย่าง
ต่อเนื่อง จากประสิทธิผลของแผนงานโครงการหรือกิจกรรม โดยศึกษาว่าผลที่ได้รับจากวัตถุประสงค์
---------------------------------------------------------------------------------