Page 206 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 206
186
ของโครงการ (Project purpose) จะไปช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด
โดยประเด็นในการประเมินจะพิจารณาดังนี้
(1) ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนงานโครงการหรือกิจกรรม และผลกระทบ
ที่มีต่อแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้
(2) วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุมซึ่งมีผลต่อการดําเนินงาน
ทั้งทางบวกและทางลบ
5.4 ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดกรอบการติดตาม แนวทาง วิธีการ และเครื่องมือในการติดตาม และ
ประเมินผลตามประเด็นยุทธศาสตร์ โครงการหรือกิจกรรมตามที่ดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการติดตามและประเมินผลตามกรอบแนวทางและวิธีการที่กำหนด
โดยสามารถ ติดตาม และประเมินผลได้ตลอดระยะเวลาของการขับเคลื่อนแผน
ั
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนงานโครงการหรือกิจกรรมการพฒนา
ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่กำหนด โดยสามารถติดตามและประเมินผลได้ตั้งแต่ก่อนเริ่ม
ดําเนินงาน ระหว่างดําเนินงาน จนสิ้นสุดโครงการ
ขั้นตอนที่ 4 รายงานและเสนอความเห็นชอบผลการติดตามและประเมินผล พร้อม
เผยแพร่ ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบโดยทั่วกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ขั้นตอนที่ 5 หน่วยงานในระดับนโยบายและที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบหรือข้อเสนอแนะ
ในรายงานการติดตามและประเมินผล ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริม
สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนกลาง
5.5 กุญแจสู่ความสําเร็จ
5.5.1 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทุกสังกัดในพื้นที่รับผิดชอบดําเนินงาน
อย่างเป็นรูปธรรม โดยการแปลงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ สู่โครงการ/กิจกรรม ที่จะนําไปสู่ผลสำเร็จ
ตามเป้าประสงค์ และตัวชี้วัดความสำเร็จที่มีค่าเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละปีงบประมาณ รวมทั้ง
กำหนดผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมนั้นๆ
5.5.2 ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา สถาบันทางการศึกษา และสถานศึกษาในพื้นที่
รับผิดชอบต้องให้ความสำคัญและใช้แผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ึ
ตอนกลางเป็นเครื่องมือ และกรอบแนวทางในการดําเนินงานหรือการบริหารจัดการศกษา
---------------------------------------------------------------------------------