Page 201 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 201

181




                                                         ส่วนที่ 5

                                  การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจงหวัด
                                                                                   ั

                              ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง พ.ศ. 2566 – 2570


                                                                                  ั
                                        (ฉบับทบทวนพ.ศ. 2566) สู่การปฏิบติ


                             แผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง พ.ศ. 2566 – 2570
                     (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2566)  ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 12  สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

                     จัดทำขึ้นเพื่อให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง

                     สำหรับใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ตอบสนองต่อการพฒนาพนที่
                                                                                                    ื้
                                                                                              ั
                     ให้บรรลุเป้าหมายของชาติ และแผนพัฒนาพื้นที่อย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นกลไกการดำเนินงาน
                     ด้านการศึกษาในพื้นที่อย่างมีประสิทธิผล นำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาประจำปี
                     ของหน่วยงานโดยการบูรณาการระหว่างหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องในพื้นที่



                     5.1 กลไกการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ

                             การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง
                     พ.ศ. 2566 – 2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2566)  ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จและเป็นรูปธรรม

                     และบรรลุเป้าหมายได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

                     ในการร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษา กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
                     กับปัจจัยสำคัญหลายประการของหน่วยงาน เช่น การบริหารจัดการการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา

                     การมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับนโยบาย
                     ระดับปฏิบัติ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักสร้างความรู้

                     ความเข้าใจการถ่ายทอดจากระดับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
                     และสังคมแห่งชาติ แผนปฏิบัติการระดับภาค แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด ที่มีความเชื่อมโยง

                     และสอดคล้องกันในทุกระดับและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา

                     การศึกษาในพื้นที่นั้น ๆ ได้อย่างเป็นระบบดังนี้
                             5.1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาระดับภาค

                     โดยมีอำนาจหน้าที่ ศึกษาข้อมูล นโยบาย กรอบ แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการการศึกษา

                     ในระดับภาคให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ทิศทางการพัฒนาประเทศ นโยบายและ
                     ยุทธศาสตร์ของกระทรวง ศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดที่สอดคล้องเชื่อมโยง

                     กับแผนระดับที่ 1 แผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 ตามหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (XYZ)




                     ---------------------------------------------------------------------------------
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206