Page 136 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 136
บทที่ 7 แนวคิดสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและจิตบริการ 125
สิ่งที่ไม่ควรจะละเลยก็คือ การใส่ใจในคุณภาพชีวิตของพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ส าคัญและแสดงให้เห็นถึง
ความเป็นมิตร และการร่วมมือที่ดีในองค์กร นอกจากนี้ คมศักดิ์ สว่างไสว ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของ
ธุรกิจสีเขียวไว้ 7 ข้อ ดังนี้ ซึ่งในปัจจุบันนั้นยังไม่มีนิยามที่ตายตัว
1. ธุรกิจสีเขียว (Green Business) และหน้าที่ที่ค านึงถึงความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม
และสิ่งแวดล้อม
2. ธุรกิจสีเขียวต้องยึดถือการด าเนินงานและการตัดสินใจทางธุรกิจ ตามหลักการ นโยบาย และ
หน้าที่ที่ค านึงถึงความยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3. ธุรกิจสีเขียวต้องไม่ส่งผลกระทบทางลบ หรือลดผลกระทบทางลบ แต่จะต้องส่งผลกระทบ
ทางบวก ต่อสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นหรือโลก รวมทั้งต่อประชาชน ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจ
4. ธุรกิจสีเขียวต้องมีกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
5. ธุรกิจสีเขียวต้องใส่ใจในคุณภาพชีวิตของพนักงาน เช่น ไม่มีลักษณะเป็นโรงงานนรก หรือมีการ
ใช้แรงงานเด็ก มีรายได้ที่เหมาะสม และอยู่ในสภาพการท างานที่ปลอดภัย เป็นต้น
6. ธุรกิจสีเขียวต้องปกป้องและเพมคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและลูกค้า เช่น มีการใช้ส่วนผสม
ิ่
ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และมีการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองต่อวิถีชีวิตสีเขียว (Green Living)
เป็นต้น
7. บริษัทสามารถแสวงหาผลก าไรจากการด าเนินธุรกิจสีเขียวได้ ทั้งในรูปการลดค่าใช้จ่ายและ
ต้นทุนในบริษัท และการขายผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ิ
ั
จากค ากล่าวของ คมศักดิ์ สว่างไสว ข้างต้นนั้นมีความสอดคล้องกับแนวคิดของ พพฒน์ วีระถาวร
(2555) ที่ได้กล่าวไว้ว่า แนวทางการด าเนินธุรกิจในปัจจุบัน หันมาให้ความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต
ลดปัจจัยการผลิต เช่น น้ าหรือพลังงานที่ใช้ รวมถึงลดและจัดการของเสียหรือสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการผลิต พร้อมทั้งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
เช่นเดียวกับ พสุ เดชะรินทร์ (2555) ที่ได้กล่าวไว้ว่า ธุรกิจสีเขียว (Green Business) ได้เริ่มพัฒนา
มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) กระแสของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้เป็นเรื่องที่น่าสนใจแก่กลุ่ม
นักธุรกิจและผู้บริโภคมากขึ้น จึงท าให้มีการกล่าวถึงเกี่ยวกับผลกระทบจากการท าธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม
ในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งการหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าจากอดีตถึงปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจหรือ
ผู้บริโภคต่างให้ความส าคัญกับสิ่งแวดล้อมทวีคูณมากยิ่งขึ้น ธุรกิจในปัจจุบัน ก าลังถูกปรับเปลี่ยนไป
ในทิศทางที่ให้ความใส่ใจถึงประโยชน์สูงสุดของธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้ง 3 ส่วนนี้คือ ส่วนที่สามารถ
สร้าง “ธุรกิจสีเขียว (Green Business)”
ทิศทางของ “ธุรกิจสีเขียว” ในมุมมองของนักวิชาการหลาย ๆ ท่าน นั้นมักจะมองว่า ธุรกิจสีเขียว
มีการมุ่งเน้นด้านการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมและความยุติธรรมทางสังคม เช่น การลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจก และมลพษทางสิ่งแวดล้อมอน ๆ การใช้แหล่งพลังงานทดแทน มาตรการด้านการประหยัด
ื่
ิ
พลังงาน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพลังงาน การลดของเสีย และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
(Ameli and Bisaro, 2016; William, 2017) กล่าวโดยสรุปคือ ธุรกิจสีเขียวมีจุดประสงค์หลักในการ
ด าเนินงานคือ “รูปแบบนวัตกรรมธุรกิจสีเขียวคือการเพิ่มความตระหนักของผู้บริโภคเพื่อการพัฒนายั่งยืน”
(Bisgaard, Henriksen and Bjerre, 2012) นอกจากนี้ Nilsson และคณะ (2012) ยังได้คิดค้นรูปแบบ
“Green Business Model Innovation Levels of Maturity” โดยมีจุดประสงค์ในการจัดท าดัชนีระดับ