Page 97 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 97
บทที่ 5 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานมรดกวัฒนธรรม 86
ั
7. นักท่องเที่ยวมีโอกาสพฒนาศักยภาพในการสร้างสรรค์ของตนเองและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
(Co - creating tourism experience)
8. ความจริงแท้ทั้งในกระบวนการการผลิตและผลิตภัณฑ์ ประสบการณ์จริง (Authentic both
process and product/ genuine experience)
9. จดจ าประทับใจ เข้าใจ (Memorable/ I hear and I forget, I see and I remember, I do
and I understand)
10. การท่องเที่ยวแบบจ าเพาะเจาะจง (Trailor - made approach)
5.4.3 การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในต่างประเทศ
จากการศึกษางานวิจัยในต่างประเทศของ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ (2556) เป็นที่น่าสังเกต
ว่า การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มีความเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ตัวอย่างเช่น งานของ Canavan (2016) ที่ศึกษาปฏิสัมพนธ์ระหว่างเจ้าบ้าน (Host) และแขก (Guest)
ั
ที่เป็นนักท่องเที่ยว ในหมู่เกาะ 3 แห่ง บริเวณประเทศองกฤษ-ฝรั่งเศส ผ่านการสัมภาษณ์ พบว่า
ั
ปฏิสัมพนธ์ระหว่างเจ้าบ้านและแขกจะก่อให้เกิดวัฒนธรรมการท่องเที่ยว (Tourism Culture) ที่มีรูปแบบ
ั
เฉพาะ ซึ่งเปรียบเสมือนพนที่ตรงกลางระหว่างวัฒนธรรมของเจ้าบ้าน และของนักท่องเที่ยว เช่น ดนตรี
ื้
และการเต้นร า ตลอดจนก่อให้เกิดการสร้างสรรค์เชิงโฆษณา เช่น เทศกาลรูปแบบใหม่ที่ก่อตัวจาก
วัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งยึดโยงกับภูมิประเทศนั้น ๆ หรืองานฝีมือ และขนมดั้งเดิมต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจาก
ปฏิสัมพนธ์และการแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าบ้าน และแขก แต่อาจมีข้อจ ากัดที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
ั
บางเกาะมีระยะทางห่างไกล หรือไม่เปิดรับมุมมองจากนักท่องเที่ยว เป็นต้น
งานศึกษาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในต่างประเทศ มักจะมีบริบทของวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง
เนื่องจากแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์นั้น ใช้วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของชุมชนเล่าเรื่อง
ให้กับนักท่องเที่ยว ในงานศึกษาของ Sofield, Guia and Specht (2017) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ
ื้
เชิงพนที่ (Place-Making) ในชุมชน 5 แห่งของเกาะแทสเมเนีย (Tasmania) พบว่า แม้ชุมชนส่วนใหญ่
จะไม่ได้ริเริ่มท าการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหลัก แต่การออกแบบเชิงพนที่ที่น าเสนอวัฒนธรรมท้องถิ่น และ
ื้
ให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วม เช่น จิตรกรรมฝาผนังผ่านบทกวีของชุมชน Sheffield ซึ่งจะมีการน าผลงานของ
นักท่องเที่ยวรวบรวมไว้ใน Murals Park สิ่งเหล่านี้ท าให้เกิดการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ และกลายเป็น
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในที่สุด
ขณะเดียวกัน ความเชื่อทางศาสนาก็ส่งผลต่อการท่องเที่ยวได้ ในบางประเทศที่วัฒนธรรม
ที่เชื่อมโยงกับศาสนานั้นมีผลต่อการก าหนดภาพลักษณ์ของจุดหมายปลายทางสูง ดังงานศึกษาของ
Farahani and Musa (2012) ที่ศึกษาผลกระทบของความเชื่อ วัตรปฏิบัติ และความศรัทธาในศาสนา
อิสลาม ที่มีต่อการรับรู้ทางการท่องเที่ยว โดยมีพื้นที่ศึกษาในชุมชน 2 แห่ง ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ
อหร่าน หลังจากให้ผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้นตอบแบบสอบถาม ผลที่ได้บ่งชี้ว่า ผู้อยู่อาศัยที่มีความเชื่อ
ิ
วัตรปฏิบัติ และศรัทธาต่อศาสนาในระดับสูงมาก จะมีการรับรู้ทางสังคมและวัฒนธรรมทางการท่องเที่ยว
ที่สูงด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ผู้ที่เชื่อมั่นในหลักการของศาสนามาก จะมีทัศนคติเชิงบวกต่อปัญหาสังคม
ื้
ั
รวมทั้งการท่องเที่ยวว่าสามารถพฒนาภาพลักษณ์ โครงสร้างพนฐาน กิจกรรมทางวัฒนธรรม และคุณภาพ
ชีวิตได้