Page 92 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 92
บทที่ 5 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานมรดกวัฒนธรรม 81
ั
ควรจะเชื่อมโยงให้เห็นการท่องเที่ยวกับการพฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม กล่าวคือ ในการพฒนา
ั
การท่องเที่ยวโดยชุมชนองค์ประกอบหลักทั้ง 4 ประการข้างต้นจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยเฉพาะ
องค์กรชุมชน มีส่วนส าคัญอย่างยิ่งต่อการก าหนดความส าเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
เนื่องจากเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมการท่องเที่ยว หากองค์กรชุมชนไม่เข้มแข็ง หรือ
ขาดประสิทธิภาพในการท างานก็ไม่สามารถความส าเร็จต่อองค์กรได้ นอกจากนี้ องค์กรภายนอกชุมชนหรือ
ั
หน่วยงานสนับสนุนก็มีบทบาทส าคัญอย่างยิ่งต่อการพฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน การร่วมกันท างาน
อย่างสอดประสานกัน จะท าให้ CBT เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง
5.3.2 หลักการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีหลักการพัฒนา ดังนี้
ชุมชนเป็นเจ้าของ
ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการก าหนดทิศทาง และตัดสินใจ
ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง
ยกระดับคุณภาพชีวิต
มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
คงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น
ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม
เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่าง และศกดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ั
เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น
มีการกระจายรายได้สู่สาธารณประโยชน์ของชุมชน
การที่จะให้ชุมชนด าเนินการท่องเที่ยวตามหลักการดังกล่าวข้างต้น มีความจ าเป็นที่จะต้องเตรียม
ความพร้อม และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ต้องรณรงค์
กับคนในสังคมให้เห็นความแตกต่างของการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการท่องเที่ยวทั่วไป กระตุ้นให้คน
ในสังคมเห็นความส าคัญ และเป็นนักท่องเที่ยวที่สนใจการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับ
ิ่
ผู้มาเยือน นอกจากนี้ ยังเป็นการเพมการรับรู้และความเข้าใจในบทบาทของชุมชนท้องถิ่นต่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นก าลังใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องในการท างานอนุรักษ์ทั้งด้าน
ธรรมชาติและวัฒนธรรม
5.3.3 ก าเนิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ช่วงที่โลกตื่นตัวเรื่องการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และหาทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยว ช่วงปี พ.ศ.
2535 หลังจากนั้น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) เข้ามาเป็นกระแสใหม่และกระแสใหญ่
ุ
ในอตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย โดยการผลักดันของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในขณะที่
การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-Based Tourism - CBT) เริ่มก่อตัวขึ้นเติบโตคู่ขนานไปกับการ
ื้
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการท างานในระดับพนที่ของโครงการท่องเที่ยวเพอชีวิตและธรรมชาติ (REST)
ื่
ต่อมา REST ได้ร่วมมือกับส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจัดตั้งสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ซึ่งในช่วงดังกล่าว มีชื่อที่เรียกขานการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ มีหลากหลายชื่อ อาทิ การท่องเที่ยวเชิง
อนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวสีเขียว
หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลไทยใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย
ประกาศให้ปี พ.ศ. 2541-2542 เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand) ในปี พ.ศ. 2544