Page 183 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 183
174
เรื่องที่ 1 ทบทวนความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ของคนคิดเป็นและการเชื่อมโยงไปสู่
ปรัชญาคิดเป็น การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบของคนคิดเป็น
ในชีวิตประจ าวันทุกคนต้องเคยพบกับปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป ็นปัญหาการเรียน การงาน
การเงิน หรือแม้แต่การเล่นกีฬาหรือปัญหาอื่น ๆ เช่น ปัญหาขัดแย้งของเด็ก หรือปัญหาการแต่งตัวไปงาน
ต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อเกิดปัญหาก็เกิดทุกข์ แต่ละคนก็จะมีวิธีแก้ไขปัญหา หรือแก้ทุกข์ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน
ไป ซึ่งแต่ละคน แต่ละวิธีการอาจเหมือนหรือต่างกัน และอาจให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเชื่อ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของบุคคลนั้น หรืออาจจะขึ้นอยู่กับ
ทฤษฎีและหลักการของความเชื่อที่ต่างกัน เหล่านั้น
“คิดเป็น” เป็นกระบวนการคิดและตัดสินใจแก้ปัญหาวิธีหนึ่งของคนท างาน กศน.ที่ท่าน
อาจารย์ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อดีตอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียนและอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้
น าเสนอไว้เป็นทิศทางและหลักการส าคัญในการด าเนินงานโครงการการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษานอก
โรงเรียนในสมัยนั้น และใช้เป็นปัญหาส่องน าทางในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในระยะต่อมาด้วย
“คิดเป็น” ตั้งอยู่บนความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ที่เป็นหลักความจริงของมนุษย์
ที่ว่า คนเรามีความหลากหลายแตกต่างกัน แต่ทุกคนต้องการความสุขเป็นเป้ าหมายสูงสุด คน กศน.เชื่อว่า
ปัญหาหรือความทุกข์เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ก็สามารถแก้ไขได้ ความทุกข์หรือปัญหาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับ
คนมากน้อย หนักเบา ต่างกันออกไป เมื่อเกิดปัญหาหรือความทุกข์คนเราก็ต้องพยายามหาทางแก้ปัญหาหรือ
คลี่คลายความทุกข์ให้หมดไปให้ความสุขกลับคืนมา ความสุขของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมนุษย์กับ
สภาวะแวดล้อมที่เป็นวิถีชีวิตของตนสามารถปรับตัวกับสภาวะแวดล้อมให้กลมกลืนกันได้นี้ มนุษย์ต้องรู้จัก
แสวงหาข้อมูลที่หลากหลายและเพียงพออย่างน้อย 3 ด้านด้วยกัน คือ ข้อมูลด้านวิชาการ ข้อมูลเกี่ยวกับ
ตนเอง และข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมทางสังคม ชุมชน น ามาวิเคราะห์ศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบ
และสังเคราะห์เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดน ามาใช้แก้ปัญหา
ความเชื่อพื้นฐานของคนคิดเป็นหรือความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่คืออะไร
เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเข้าถึง “คิดเป็น” ได้อย่างลึกซึ้งและชัดเจน ผู้เรียนที่เคยเรียน
เรื่อง “คิดเป็น” มาก่อนในระดับประถมศึกษาหรือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ขอให้ข้ามไปอ่านต่อและร่วม
กิจกรรมกระบวนการ ตั้งแต่ เรื่องที่ 2 ของบทนี้เป็นต้นไป