Page 185 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 185

176


                              ประมาณปี พ.ศ.2513 เป็นต้นมา ท่านอาจารย์ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ และคณะได้น าแนวคิด

               เรื่อง “คิดเป็น” มาเป็นเป้ าหมายส าคัญในการจัดการศึกษาผู้ใหญ่หลายโครงการ เช่น โครงการการศึกษา
               ผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ โครงการการศึกษาประชาชนและการศึกษา

               ผู้ใหญ่ขั้นต่อเนื่อง เป็นต้น* ต่อมาท่านย้ายไปเป็นอธิบดีกรมวิชาการ ท่านก็น าคิดเป็นไปเป็นแนวทางจัด

               การศึกษาส าหรับเด็กในโรงเรียนจนเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เพื่อให้การท าความเข้าใจกับการคิดเป็นง่ายขึ้น

               พอที่จะให้คนที่จะมามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนตามโครงการดังกล่าวเข้าใจและสามารถ
               ด าเนินกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักการ “คิดเป็น” ได้ จึงมีการน าเสนอแนวคิดเรื่อง ความเชื่อ

               พื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้กระบวนการคิดเป็น ในการท าความเข้าใจกับความเชื่อ

               พื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ให้กับผู้ที่จะจัดกระบวนการเรียนการสอนตามโครงการดังกล่าวในรูปแบบของ
               การฝึกอบรม** ด้วยการฝึกอบรมผู้ร่วมโครงการการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ และโครงการการศึกษา

               ผู้ใหญ่ขั้นต่อเนื่องระดับ 3 - 4 - 5 เป็นที่รู้จักฮือฮากันมากในสมัยนั้นผู้เข้ารับการอบรมยังคงร าลึกถึง และ

               น ามาใช้ประโยชน์จนทุกวันนี้


                  เราจะมาท าความรู้จักกับความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ที่เป็นปฐมบทของการคิดเป็นกันบ้างดีไหม


                       การเรียนรู้เรื่องความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ให้เข้าใจได้ดีผู้เรียนต้องท าความเข้าใจด้วยการ

               ร่วมกิจกรรม การคิดวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ เป็นขั้นเป็นตอนตามล าดับ และสรุปความคิดเป็นขั้นเป็นตอน

               ตามไปด้วย โดยไม่ต้องกังวลว่าค าตอบหรือความคิดที่ได้จะผิดหรือถูกเพียงใด เพราะจะไม่มีค าตอบใด

               ถูกทั้งหมด และไม่มีค าตอบใดผิดทั้งหมด เมื่อได้ร่วมกิจกรรมครบตามก าหนดแล้ว ผู้เรียนจะร่วมกันสรุป
               แนวคิดเรื่อง ความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ได้ ด้วยตนเอง

                       ต่อไปนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ เพื่อน าไปสู่การสร้างความเข้าใจ

               เรื่องการคิดเป็นร่วมกันเริ่มด้วยการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เป็นขั้นเป็นตอนไป ตั้งแต่กิจกรรมที่ 1 - 5 โดยจะมีครู
               ร่วมกิจกรรมด้วย



               *     นับเป็นวิธีการทางการศึกษาที่สมัยใหม่มากยังไม่มีหน่วยงานไหนเคยท ามาก่อน

               **   ที่ให้วิทยากรที่เป็นผู้จัดอบรมและผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันด้วย กระบวนการ
               อภิปรายถกแถลงในรูปกระบวนการกลุ่มมีการวิเคราะห์กรณีตัวอย่างหลายเรื่อง ที่ก าหนดขึ้น น าเหตุผล และ

               ข้อคิดเห็นของกลุ่มมาสรุปสังเคราะห์ออกมาเป็นความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ (สมัยนั้น) หรือ กศน.

               (สมัยต่อมา) ผลสรุปของการอภิปรายถกแถลงไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนก็จะได้ออกมาเป็นทิศทางเดียวกัน
               เพราะเป็นสัจธรรมที่เป็นความจริงในชีวิต
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190