Page 184 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 184
175
ส าหรับผู้เรียนที่ยังไม่เคยเรียนเรื่อง “คิดเป็น” มาก่อนในระดับประถมศึกษาและ
มัธยมศึกษาตอนต้น ขอให้ร่วมกันท าความเข้าใจเรื่องความเชื่อพื้นฐานของคนคิดเป็นหรือความเชื่อพื้นฐาน
ทางการศึกษาผู้ใหญ่เสียก่อน ทั้งนี้เพราะกระบวนการ “คิดเป็น” เน้นการท าความเข้าใจด้วยกระบวนการคิด
และสร้างความเข้าใจด้วยตนเองเป็นหลัก ให้ใช้กรณีตัวอย่างในแบบเรียนคิดเป็น ระดับประถมศึกษา
เป็นเอกสารประกอบการสนทนาและร่วมสรุปแนวคิดดังต่อไปนี้
ความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ ปฐมบทของปรัชญา “คิดเป็น”
ครั้งหนึ่ง ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเคยเป็นอธิบดีกรมการ
ศึกษานอกโรงเรียนมาก่อนเคยเล่าให้ฟังว่ามีเพื่อนฝรั่งถามท่านว่า ท าไมคนไทยบางคนจนก็จน อยู่กระต๊อบ
เก่า ๆ ท างานก็หนัก หาเช้ากินค ่า แต่เมื่อกลับบ้านยังมีแก่ใจนั่งเป่าขลุ่ย ตั้งวงสนทนา สนุกสนาน เฮฮากับ
เพื่อนบ้านหรือโขกหมากรุกกับเพื่อน ได้อย่างเบิกบานใจ ตกเย็นก็นั่งกินข้าวคลุกน ้าพริก คลุกน ้าปลากับลูก
เมียอย่างมีความสุขได้ ท่านอาจารย์ตอบไปว่า เพราะเขาคิดเป็น เขาจึงมีความสุข มีความพอเพียง ไม่ทุกข์ไม่
เดือดร้อนทุรนทุรายเหมือนคนอื่น ๆ เท่านั้นแหละ ค าถามก็ตามมาเป็นหางว่าว เช่น ก็เจ้า “คิดเป็น” มันคือ
อะไร อยู่ที่ไหน หน้าตาเป็นอย่างไร หาได้อย่างไร หายากไหม ท าอย่างไรจึงจะคิดเป็น ต้องไปเรียนจากพระ
อาจารย์ทิศาปาโมกข์หรือเปล่า ค่าเรียนแพงไหม มีค่ายกครูไหม ใครเป็นครูอาจารย์ หรือศาสดา ฯลฯ ดูเหมือนว่า
“คิดเป็น” ของท่านอาจารย์จะเป็นค าไทยง่าย ๆ ธรรมดา ๆ แต่ก็ออกจะลึกล ้า ชวนให้ใฝ่หาค าตอบยิ่งนัก
“ คิดเป็น” คืออะไรใครรู้บ้าง
มีทิศทางมาจากไหนใครเคยเห็น
จะเรียนร ่าท าอย่างไรให้คิดเป็น
ไม่ล้อเล่นใครตอบได้ ขอบใจเอย