Page 206 - Bright Spot 2562
P. 206
194
194
การประชุมภายในองค์กรจะเน้นการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีส่วนร่วม การจัด
ปฐมนิเทศบุคลากรใหม่เป็นกิจกรรมที่หล่อหลอมให้บุคลากรใหม่ เป็นไปในแบบที่องค์กรต้องการและเป็น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้บุคลากรคนอื่นๆ ภายในองค์กรได้มีการระลึกถึงวันแรกที่ได้มาทำางานภายในองค์กร
เพราะการทำางานเหมือนเดิมในทุกๆวัน มักจะก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายและไม่มีความสุข การระลึกถึง
แววตาในวันแรกที่ได้มาทำางานของตนเอง ย่อมทำาให้เกิดแรงกระตุ้นและแรงผลักดันในการทำางาน
ทั้งบุคลากรใหม่และบุคลากรเดิมขององค์กร
การจัดกิจกรรมต่างๆ นอกจากจะส่งผลในเรื่องของความสุขที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำาให้เกิดการสื่อสาร
ของคนภายในองค์กร คนที่อยู่คนละฝ่ายคนละแผนกได้มาเจอกันพูดคุยกัน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและ
ยังเป็นการค้นหาศักยภาพของบุคลากรที่ซ่อนอยู่ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับงานที่ท้าทายจะเกิดแรงกระตุ้นให้
ได้ใช้ศักยภาพ ทำาให้บุคลากรมองเห็นคุณค่าในตนเอง เกิดเป็นแรงจูงใจสำาคัญทำาให้เกิดการทุ่มเทในการ
ทำางาน และก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่ทำาให้บุคลากรรู้สึกว่าเป็นผู้ที่ทำาบางสิ่งที่สำาคัญและยิ่งใหญ่
เมื่อมองเห็นคุณค่าของตนเองแล้วนั้นความสุขในการทำางานย่อมเกิดตามมาแน่นอน
เริ่มต้นปัจจัยแห่งความสำาเร็จ คือ ผู้นำาองค์กรเห็นความสำาคัญของการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กร
แห่งการเรียนรู้และบุคลากรมีความสุข และคณะกรรมการ หัวหน้างาน/หัวหน้าฝ่ายทุกท่านเห็นถึงความ
สำาคัญ ลงสู่ผู้ปฏิบัติทุกคนภายในองค์กรตระหนักถึงความสำาคัญเช่นกัน เรียงร้อยความเข้าใจ และปฏิบัติ
ช่วยกันพัฒนาจนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กร เหมือนกับทุกฟันเฟืองที่ช่วยกันหมุนให้องค์กรขับเคลื่อน
ไปด้านหน้าอย่างมั่นคง มุ่งสู่ Happy and learning organization
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนา
ตามกรอบแนวคิดของยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน Patient and Personnel safety (2P Safety)
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข ในส่วนของ Workplace violence ความ
รุนแรงในสถานที่ทำางาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Personnel Safety Goals โรงพยาบาลภูหลวงจึงได้
ตระหนักถึงความสำาคัญของ Workplace violence หากบุคลากรภายในองค์กรไม่ปลอดภัยย่อมเป็น
ปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กรและความสุขของบุคลากรภายในองค์กร จากการสำารวจ
ความคิดเห็นของบุคลากรต่อความปลอดภัยของโรงยาบาลภูหลวงในปีงบประมาณ 2560 พบว่า บุคลากร
มีความคิดเห็นว่าโรงพยาบาลมีความปลอดภัยเพียง 67.5% การสำารวจสะท้อนให้เห็นว่าภายในองค์กร
ยังมีบุคลากรที่รู้สึกไม่ปลอดภัยอยู่ถึง 32.5 % เมื่อทบทวนข้อมูลความรุนแรงของ รพ.ภูหลวง 7 ปี ย้อนหลัง
พบว่า มีข้อมูลความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาลที่ได้รับการายงานเพียง 4 เรื่อง ซึ่งเป็นข้อมูลการ
รายงานที่ Under report เนื่องจากยังไม่มีระบบการรายงานที่ชัดเจน
การพัฒนาระบบเก็บข้อมูลความรุนแรงภายในองค์กร คือเป้าหมายขององค์กรในปีงบประมาณ
2562 โดยงานพัฒนาบุคลากรได้มีการพัฒนานวัตกรรม Application workplace violence ในการเก็บ
ข้อมูลความรุนแรงในองค์กรและนำาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางลดความรุนแรงภายในองค์กร
https://youtu.be/2YAM0XBQOb8