Page 155 - ธรรมะบรรยาย2564
P. 155
แฉะแล้วเราไม่ทำ จะไปโทษหลวงพ่อได้อย่างไร โทษตัวเองสิ ตัวเองหมายถึงกิเลส กิเลสมาครอบงำ
จิตของเราให้พ่ายแพ้สิ่งที่ทำให้จิตมัวหมองคือกิเลส สิ่งที่ทำให้จิตมืดมนคือกิเลส “กิเลส” แปลว่า
สิ่งมัวหมองมืดมน มันปกปิด มันครอบงำ มันมีอิทธิพลสั่งจิตของเราให้เป็นอย่างนี้ สั่งจิตของเราให้
อย่างนั้น สั่งจิตของเราให้ท้อแท้ สั่งจิตของเราให้ถดถอย นี่คืออำนาจของมัน หลวงตามหาบัวหรือ
ว่าองค์ไหนก็ว่าเหมือนกัน ท่านจะพูดอย่างนี้
เพราะฉะนั้น เราก็ต่อสู้บ้าง ต่อสู้เถอะ เราทำดีเพื่อเป็นพุทธบูชาวันนี้ เรียกว่าวันวิสาขาบูชา
นี่คือตรัสรู้ ท่านตรัสรู้อะไร อริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค “ทุกข์” คืออะไร คือการเปลี่ยนแปลง
ถ้ารู้การเปลี่ยนแปลง “สมุทัย” คือ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง คืออะไร คือไม่ถาวรไม่คงทน
“นิโรธ” คือดับ การยึดมั่นถือมั่นว่ามันคงทนถาวร ให้เข้าใจถูก มันมีอะไรคงทน ดับความที่ยึดมั่น
่
ถือมั่น ดับยังไง รู้วาเปลี่ยนแปลง “มรรค” ก็ดำเนินไปต้องเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลง
พยายามศึกษาทำความเข้าใจอย่างนี้เรื่อย ๆ แล้วในที่สุดมันจะเข้าใจจนได้ นี่คือทางดำเนินไป
ี
เรยกว่า “ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค” แล้วก็ปฏิบัติดำเนินสายกลาง ท่านว่าอย่างนี้ แต่ว่าสายกลาง
มันไม่เหมือนกัน บางคนกลางแบบเร็วแบบช้าแบบไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน
พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้บอกว่ากลาง ๆ คือตรงนี้นะ ไม่ได้บอก แต่บอกเพียงว่าอยู่ที่ฌานที่ ๔ แล้ว
ู้
เรารหรือยังฌานที่ ๔ อยู่ตรงไหนในจิตของเรา มันอยู่ในตำรา ฌาน ๑ เรายังไม่รู้ พอไม่รู้จะไปถึง
ฌาน ๔ ก็เป็นเรื่องที่เดาเอานะสิ เราต้องชำนาญในการเข้าฌาน ๑ ให้ได้ก่อน ฌาน ๑ ฌาน ๑
เหมือนรู้ ก-ฮ รู้หมดทุกตัวแล้วจะเขียนผิดได้อย่างไร ต้องรู้พอรู้แล้วเขียนผิดได้ยังไงก็ต้องเขียนถูก
ตลอด นี่คือรู้จัก เข้าใจ เพราะฉะนั้น ฌาน ๑ ให้ผ่าน วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา คืออะไร วิตก
คืออะไร ต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อน จิตมีวิตกเป็นยังไง วิจารณ์เป็นยังไง ปีติเป็นยังไง สุข
เป็นยังไง เอกัคคตาเป็นยังไง ไล่อยู่ตรงนี้ เอาตรงนี้ให้มันชัดเจนเป็นพื้นฐานที่มั่นคง ถ้าพื้นฐานไม่
มั่นคงจะไปเดาเอาสิ ก็เหมือนคนที่ไปยานอวกาศ ไปถึงดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสหรือว่าดาว
อะไรว่าไป เขามาพูดให้เราฟังว่าดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวศุกร เราได้แต่ฟัง เราไม่เข้าใจ คนที่ไป
์
แล้วสัมผัสเป็นยังไง เพราะฉะนั้น เราพูดสูง ๆ พูดได้ พูดได้ก็โม้ โม้ดีกว่าไม่โม้ แต่จริง ๆ แล้วเป็น
เรื่องเพ้อฝัน เพ้อเจ้อ แต่เพ้อเจ้อดีกว่าไม่เพ้อเจ้อ ในที่สุดมันก็ต้องกรองอยู่ดี อารมณ์มันต้องกรอง
เพราะฉะนั้น จึงมีการทำสมาธิเพื่อมาเป็นเครื่องกรองอารมณ์ กรองก็คือคัดสรรเอาอารมณ์ที่
ดีเข้าสู่จิต อย่างว่าพุทโธ ๆ นี่คืออารมณ์ดี เมื่อว่าพุทโธ ๆ มากเข้าคือการกรองอารมณ์ที่จะเข้าสู่จิต
ี
เข้าไม่ได้ไม่มีโอกาสไม่มีช่อง พอไม่มีช่องอารณ์เสียมันจะเข้ามาได้อย่างไร เมื่ออารมณ์เสยเข้าไม่ได้ก็
มีอารมณ์ดีตลอด เราต้องฝึกอย่างนี้ ฝึกแล้วฝึกอีก ๆ ในที่สุดอารมณ์ดีก็จะเกิดขึ้น หัวเราะได้ สบาย
๑๕๕