Page 129 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 129
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา 115
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีให้ได้โมเลกุลใหม่ๆเป็นยาต้นแบบ
(originator product) เป็นเรื่องยาก มีราคาสูงและมีการจดสิทธิบัตร แต่ภายหลังจากสิทธิบัตรของยาที่ได้รับ
การอนุมัติทะเบียนเป็นรายแรกหมดอายุลง บริษัทผู้ผลิตอื่น ๆ จะสามารถผลิตยา 'เลียนแบบ' ออกสู่ตลาด ซึ่ง
47
จะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วย และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยา แต่เนื่องจากยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีซึ่งเป็น
ยาชีววัตถุนั้นมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงสภาวะการผลิตเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลให้ได้ยาที่มี
ี
โครงสร้างโมเลกุลแตกต่างกัน ท าให้บริษัทผู้ผลิตอื่น ๆ ไม่สามารถผลิตยาที่เหมือนกับยาต้นแบบได้ ท าได้เพยง
ผลิตยาคล้ายคลึง (biosimilars หรือ Similar biotherapeutic products: SBP) โดยเมื่อมีการผลิตยา
คล้ายคลึงได้แล้วก็จะต้องท าการวิเคราะห์คุณภาพโดยละเอียดทั้งโครงสร้างโมเลกุล และความบริสุทธิ์ โดยท า
การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับยาอ้างอิง (reference biological medicinal product: RBP) ซึ่งหมายถึง ยาชีว
วัตถุที่น ามาใช้อ้างอิงในการศึกษาเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันกับยาชีววัตถุคล้ายคลึงโดยตรง และเป็นยาชีว
วัตถุต้นแบบที่มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ หรือตามที่ส านักงานคณะกรรมการอาหาร
และยาประกาศก าหนด โดยใช้ยาอ้างอิงจ านวนหลายๆรุ่นที่เพียงพอที่จะแสดงแนวโน้มของความคล้ายคลึงได้
หากไม่มีความแตกต่างใดที่กระทบต่อคุณภาพ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยก็จะด าเนินการศึกษา
เปรียบเทียบในขั้นต่อไป คือ การศึกษาที่ไม่ได้ท าในมนุษย์ (non-clinical studies) หากข้อมูลแสดงความ
คล้ายคลึงอย่างเพียงพอจึงจะท าการศึกษาทางคลินิก (clinical studies) เพื่อดูประสิทธิภาพและความ
ปลอดภัยต่อไป ในภาพรวมขอบเขตของการเปรียบเทียบความคล้ายคลึงด้านคุณภาพ สิ่งที่ต้องประเมินคือ
คุณลักษณะทางเคมีกายภาพ (physicochemical properties) โดยพิจารณาโครงสร้างตั้งแต่ปฐมภูมิและ
โครงสร้างขั้นสูง ตรวจสอบความบริสุทธิ์ สารปนเปื้อน การออกฤทธิ์ทางชีวภาพของยา และความแตกต่าง
เล็กน้อยบนในโมเลกุล (microheterogeneity) ซึ่งเกิดจาก การปรับแต่งโมเลกุลของโปรตีนหลังการผลิต เช่น
ตรวจสอบชนิดและปริมาณของน ้าตาลที่ประกอบอยู่บนโมเลกุล ทั้งหมดนี้ใช้เทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย
ประกอบกัน ทางด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย เป็นการศึกษาเพื่อดูเภสัชจลนศาสตร์
(pharmacokinetics) และเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamics) รวมทั้งต้องเปรียบเทียบฤทธิ์กระตุ้น
ภูมิคุ้มกันกับยาอ้างอิง มีการดูการติดตามผลการใช้ เพื่อสังเกตชนิดความรุนแรงและการเกิดอาการข้างเคียง
จากยา ท าการศึกษาในหลอดทดลองโดยการจับกับตัวรับ (receptor binding assay และ cell-based
48
ื
assay) พร้อมท าการทดสอบความเป็นพิษ ซึ่งการพัฒนายาคล้ายคลึงในส่วนของการศึกษาทางคลินิกเพ่อใช้
ในการขึ้นทะเบียนต ารับยา อาจใช้เงินลงทุนสูงถึง 80 - 120 ล้านเหรียญสหรัฐ และใช้ระยะเวลาโดยประมาณ
6 - 10 ปี นับเป็นความท้าทายประการหนึ่งในการพัฒนายาชีววัตถุคล้ายคลึง
47 Declerck PJ. (2012). Biologicals and biosimilar: a review of the science and its implications. GaBi journal.
48 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีและแนวทางการเปรียบเทียบความ
คล้ายคลึงด้านคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: บริษัทบียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.