Page 132 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 132

Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry
          118      development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP


               2. ความต้องการใช้ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีของประเทศไทย

                       ปัจจุบันมีการใช้ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีในการรักษาโรคจ านวนมาก โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคติด

               เชื้อ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิต้านทาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบ

               ประสาท การน าเข้ายาในประเทศไทยมีมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับยาที่มีการผลิตในประเทศ ข้อมูลจากส านักงาน

               คณะกรรมการอาหารและยาพบว่าในปี พ.ศ. 2561 มีมูลค่าการน าเข้ายาสูงถึง 1.18 แสนล้านบาท และ

                                            52
               แนวโน้มการน าเข้ายาเพิ่มขึ้นทุกปี  ข้อมูลจากส านักงานคณะกรรมการอาหารและยาพบว่าในปี พ.ศ. 2554
               มูลค่าการน าเข้าผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ 2 หมื่นล้านบาท โดยมูลค่าของการน าเข้าส่วนใหญ่เป็นยาชีววัตถุที่ใช้รักษา

               โรคมะเร็ง ยาชีววัตถุที่มีขอบ่งใช้ในการรักษาโรคมะเร็งทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทโมโนโคลนอลแอนติบอดี
                                    ้
               ผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุส าหรับรักษามะเร็งบางชนิดสามารถรักษามะเร็งได้มากกว่า 1 ประเภท ในขณะที่บาง

               ประเภทสามารถที่จะรักษามะเร็งที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น มะเร็งที่มีการแสดงออกของโปรตีนบางชนิด
               เท่านั้น เมื่อท าการรวบรวมข้อมูลอุบัติการณ์และความส าคัญของโรคมะเร็งจากฐานข้อมูลองค์กรอนามัยโลก

               และอุบัติการณ์โรคมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคน

               ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกพบว่าในปีพ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จ านวน 18.1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิต

                                                                                                        53
               จากโรคมะเร็ง 9.6 ล้านคน ซึ่งถือว่ามะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
                                    ื่
               องค์กรระหว่างประเทศเพอการวิจัยโรคมะเร็ง หรือ IARC ขององค์การอนามัยโลก ประมาณการณ์ตัวเลขผู้ป่วย
                                                                                                         ุ่
               ด้วยโรคมะเร็งภายในปี 2040 จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่มากถึง 29.3 ล้านคน และอัตราการเสียชีวิตจะพง
               สูงขึ้นเป็น 16.3 ล้านคนด้วย เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ส่งผลให้มีการศึกษาวิจัยอย่าง
               แพร่หลายเพื่อท าความเข้าใจกับโรคมะเร็งมากยิ่งขึ้น และน าไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ ความก้าวหน้าทาง

               วิทยาการโรคมะเร็ง ท าให้ทราบว่ามะเร็งแต่ละชนิดยังสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ได้อีกตามความผิดปกติของ

                                                                                          ื่
               ยีนชนิดต่าง ๆ และน าไปสู่วิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ยาชีววัตถุหลายชนิดได้พัฒนาขึ้นมาเพอการรักษาแบบมุ่ง
               เป้า คือมุ่งท าลายเซลล์มะเร็งที่มีลักษณะการกลายพันธุ์จ าเพาะ เป็นการลดผลแทรกซ้อนที่จะเกิดกับเซลล์ปกติ

               ท าให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากข้อมูลสถิติโรคมะเร็งประเทศไทยปี พ.ศ. 2557 ของสถาบันมะเร็ง

               แห่งชาติ มีผู้ป่วยโรคมะเร็ง 122,757 คน จากข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข

               รายงานว่าในปี พ .ศ. 2557 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง 70,075 คน เป็นเพศชาย 40,161 คน เพศ

               หญิง 29,914 คน ในปี 2561 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ 170,495 และพบผู้เสียชีวิตด้วย

               โรคมะเร็งมากถึง 114,199 คน โดยโรคมะเร็งที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็ง
               เต้านม มะเร็งล าไส้ใหญ่ และมะเร็งถุงน ้าดี ซึ่งมีอุบัติการณ์การเกิดโรคอยู่ที่ 23,957 คน 23,296 คน 19,510



               52  กองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2561). มูลค่าการนำเข้าของยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์  แยกตามฤทธ ิ์

               ทางเภสัชวิทยา ประจำปี 2552-2561.
               53   กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2562-2565.
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137