Page 135 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 135

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา   121


                                                                              ึ้
                                                                                            ื่
               การสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์และสาธารณสุขขน ในปี 2545 เพอเป็นหน่วยวิจัย
                                                                                              55
               และพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม ใช้วงเงินประมาณ 1,630 ล้านบาท  หลังจากนั้น
               ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเริ่มมีความพยายามในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีววัตถุ ให้เกิดการวิจัยและพัฒนายาเพื่อให้

               ประเทศไทยสามารถผลิตยาชีววัตถุเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกได้ โดยมีการพัฒนากรอบนโยบายการพัฒนา
               เทคโนโลยีชีววัตถุแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2547-2554) ที่มีเป้าหมายเร่งรัดการพัฒนาความสามารถด้าน

               เทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทยให้เพิ่มขึ้น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) จึงถูกก่อตั้งขึ้น

               ในปี 2547 จากนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งใจจะเชื่อมโยงศูนย์กลางของนวัตกรรมและการลงทุนเพออานวยความ
                                                                                              ื่

               สะดวกให้กับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์เป็นองค์การมหาชน

               ภายใต้การก ากับดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์

               บนพื้นฐานของความเป็นมิตร

                       ในปี 2554 ได้มีการก่อตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of

               Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ภายใต้การก ากับดูแลของส านักพัฒนบัณฑิตศึกษาและ

               วิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) ส านักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยการด าเนินการ

               ของศูนย์เป็นความร่วมมือโดยกลุ่มนักวิจัยที่มีความรู้และความช านาญระดับแนวหน้าของประเทศ จาก

               มหาวิทยาลัยชั้นน า 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

               มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาร่วมกันจัดท าโครงการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทาง

                                                         ิ่
                                                      ื่
               การแพทย์แบบครบวงจร โดยมีวัตถุประสงค์เพอเพมความสามารถในการผลิต การวิเคราะห์ การทดสอบ และ
               การวิจัย เพื่อเพิ่มคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ สร้างกลุ่มวิจัยที่มีความสามารถในการคิดค้น
               เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของภาคส่วน

               ต่าง ๆ ให้เกิดการสร้างและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชีววัตถุ (Partnering facilitation and Technology

               Licensing) สร้างและส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ทางด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ สร้างขีด

               ความสามารถ (Capacity Building) ของประเทศทางด้านการผลิตยาชีววัตถุ ลดการน าเข้าเทคโนโลยีจาก

               ต่างประเทศ เพิ่มการเข้าถึงยาชีววัตถุทมีประสิทธิภาพสูงแก่ประชาชนทั่วไป ยกระดับมาตรฐานและสร้างความ
                                               ี่
               มั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศ

                       นโยบายส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพมีการด าเนินการเรื่อยมา จนน าไปสู่การจัดท ากรอบ

               นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย(พ.ศ. 2555-2564) ที่มุ่งหวังให้เทคโนโลยีชีวภาพเป็น

               ปัจจัยส าคัญในการสร้างความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความมั่นคงทั้งในด้านพลังงาน อาหาร




               55  ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. (2547). กรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย:
               พ.ศ. 2547-2554
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140