Page 16 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 16
Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry
2
development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
ประเทศที่มีขนาดการลงทุนในส่วนวิจัยและพัฒนา ในช่วง 100 - 1,000 ล้านบาท มีเพียง 2 แห่ง ที่เหลือประมาณ
2
180 แห่ง มีการลงทุนในส่วนวิจัยและพัฒนาต ่ากว่า 100 ล้านบาท
“ประเทศไทย 4.0” เปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม อุตสาหกรรมยาจัดเป็น 1 ใน 5
กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ต้องมีการพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี วิจัยและพัฒนา ที่สอดคล้องกับ
่
ความต้องการพัฒนาประเทศและแขงขันได้ในตลาดโลก
ภาครัฐมีความพยายามก าหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมยาตั้งแต่ในอดีต จน ถึง
ปัจจุบัน แต่การผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศไปสู่อุตสาหกรรมต้นน ้ายังไม่เป็นผล ปัจจุบัน
นโยบายจากรัฐและกระทรวงต่าง ๆ ยังคงเน้นให้เกิดการผลิตยาที่ยั่งยืน มียาเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ
รวมถึงการพัฒนามาตรฐานการผลิตให้เป็นสากลเพื่อแข่งขันกับต่างชาติ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 -
2579), ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579), ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
(ด้านสาธารณสุข), นโยบายแห่งชาติด้านยาและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2564,
ยุทธศาสตร์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560 - 2564), การพัฒนาอุตสาหกรรม
สมุนไพรไทยจาก แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560 - 2564 และล่าสุดเมื่อวันอังคารที่
ุ
7 สิงหาคม ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติให้มีกระทรวงใหม่ ชื่อ “กระทรวงอดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม” โดยรวม
ื่
มหาวิทยาลัยรัฐ 84 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 73 แห่ง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 11 แห่ง เพอ
ปรับเปลี่ยนประเทศสู่ 4.0
ี่
อย่างไรก็ตาม นโยบายการค้าระหว่างประเทศทอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการพฒนาภาคอตสาหกรรมยา เช่น
ั
ุ
ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าส าหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and
Progressive Agreement for Trans- Pacific Partnership – CPTPP) ซึ่งเป็นความตกลงที่ประเทศสมาชิก11
ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู เม็กซิโก ญี่ปุ่น บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และ
เวียดนาม ได้ร่วมกันลงนาม ณ ประเทศชิลี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 ตัวอย่างมาตราที่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการ
พัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ เช่น มาตรา 18.53 ก าหนดให้มีระบบการแจ้งเตือนกับผู้ทรงสิทธิบัตร เมื่อมี
ยาสามัญมาขึ้นทะเบียนยา
ระบบการแจ้งเตือนกับผู้ทรงสิทธิบัตร เมื่อมียาสามัญมาขึ้นทะเบียนยา กล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง
กับระบบการเชื่อมโยงสถานะของสิทธิบัตรกับการขึ้นทะเบียนยา ซึ่งริเริ่มโดยสหรัฐอเมริกาในปี 1984 ภายใต้ Drug
Price Competition and Patent Term Restoration Act 1984 หรือ Hatch-Waxman Act หลังจากนั้น
สหรัฐอเมริกาจึงพยายามปกป้องผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมยาของตนในต่างประเทศ โดยการเรียกร้องให้ประเทศ
คู่เจรจาการค้าจัดท าระบบการเชื่อมโยงสถานะของสิทธิบัตรกับการขึ้นทะเบียนยา ผ่านทางการเจรจาความตกลงเขต
การค้าเสรีแบบทวิภาคี
ปัจจุบัน ประเทศไทยไม่มีระบบการแจ้งเตือนกับผู้ทรงสิทธิบัตร เมื่อมียาสามัญมาขึ้นทะเบียนยา ส าหรับการ
ขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทยอยู่ภายใต้การดูแลโดยส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง
2 ข้อมูลจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ