Page 62 - Efavirenz WHO PQ: A case study of a public-private collaboration
P. 62

ุ
                        บทที่ 4 ผลการศึกษาและอภิปรายผล ส่วนที่ 1: 17 ปี ของการท างานร่วมกัน เพื่อบรรล WHO PQ   | 45




                                                             บทที่ 4
                                                           ผลการศึกษา


                                         17 ปี ของการท างานร่วมกัน เพื่อบรรลุ WHO PQ






                               ในบทนี้ เป็นการน าเสนอผลการวิเคราะห์เนื้อหา และผู้ที่เกี่ยวข้องหลักในการรับรอง
                        มาตรฐานโดยองค์การอนามัยโลก (WHO PQ) ในประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมามีการด าเนินการใน 2

                        ส่วน ได้แก่ การยื่นขอรับรองผลิตภัณฑ์ในโครงการ WHO prequalification ขององค์การเภสัช

                        กรรม และ การยื่นขอรับรองห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีรายละเอียดดังนี้



                        4.1   การยื่นขอรับรองผลิตภัณฑในโครงการ WHO prequalification ขององค์การ
                                                          ์
                        เภสัชกรรม
                               4.1.1   ที่มาและความส าคัญของการขอรับรอง

                                                                                          ั
                                      ในปี พ.ศ. 2544 รมว.สาธารณสุข (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพนธุ์) หารือร่วมกัน
                        ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรคติดต่อ อภ. ตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ และ
                        ตัวแทน NGO เห็นชอบในหลักการที่จะให้การรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสเป็นส่วนหนึ่งของ

                        ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในท่ามกลางความจ ากัดของงบประมาณในการจัดหายาต้าน

                        ไวรัสที่มีราคาสูงในขณะนั้น จึงได้มอบนโยบายให้ อภ. ท าการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ที่ได้รับ WHO
                        Prequalification ซึ่งจะส่งผลให้สามารถใช้งบประมาณจากกองทุนโลกในการจัดซื้อยาดังกล่าวจาก

                        อภ.ได้  ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 อภ. ได้รับการตรวจประเมินจาก WHO-GENEVA ในรูปแบบ

                        Technical Assistant เป็นครั้งแรก ณ อาคารผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ องค์การเภสัชกรรม พระราม
                        หก ในเดือนสิงหาคม ผลการตรวจประเมินครั้งนั้นไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ WHO GMP

                        Requirement โดยเฉพาะประเด็นอาคารสถานที่ และหลังจากการปรับปรุงสถานที่ อภ. ได้ยื่น

                                                                                    ื่
                        เอกสารทะเบียนต ารับ GPO-VIR S30 Tablets ไปยัง WHO-GENEVA เพอเข้าร่วมโปรแกรม WHO
                        Prequalification (WHO PQ) ผลการตรวจประเมินที่ได้รับพบว่า เอกสารทะเบียนต ารับยังขาด

                        ความสมบูรณ์ของเนื้อหาโดยเฉพาะข้อมูล Pharmaceutical Development จึงน ามาสู่การ

                        ตัดสินใจของ อภ. เลือกแนวทางการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์แห่งใหม่ (โรงงานผลิตยา
                        รังสิต 1) ในปี พ.ศ. 2551 ณ เลขที่ 138 ถนนรังสิต-นครนายก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดยมีเป้าหมาย

                                 ิ่
                        หลักคือเพมหน่วยงานประกันคุณภาพ (QA) เข้ามาใน อภ. นอกเหนือจากหน่วยควบคุมคุณภาพ
                        (QC) ที่มีอยู่เดิมแล้ว และโรงงานใหม่ที่รังสิตต้องได้ WHO PQ
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67