Page 100 - 2557 เล่ม 1
P. 100

๑๐๐



               จําเลยต้องยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาตามเวลาที่กฎหมายกําหนด เมื่อจําเลยไม่ได้
               ดําเนินการจะมากล่าวอ้างในคําร้องไม่ได้ จําเลยไม่ได้โต้แย้งที่นายสมเดชยืนยัน

               รับรองเกี่ยวกับความกว้างยาวและพื้นที่ของที่ดินจําเลยส่วนที่รุกล้ําเข้าไปในที่ดิน

               ของโจทก์ จึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่นายสมเดชยืนยัน การยื่นคําร้องของจําเลย
               ยื่นเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกําหนด เมื่อจําเลยลงนามรับทราบการบังคับคดีของ

               เจ้าพนักงานบังคับคดีทุกครั้ง หากการดําเนินการของเจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืน

               ต่อกฎหมายต้องถือว่าจําเลยรับทราบและรู้เหตุถึงการฝ่าฝืนนั้น และให้สัตยาบันใน
               การดําเนินการของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว คําร้องของจําเลยเป็นคําร้องที่ไม่ชัดแจ้ง

               ไม่ได้บรรยายหรือระบุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

               ไม่สมควรที่ศาลจะรับไว้พิจารณา ขอให้ยกคําร้องและให้จําเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
               แทนโจทก์

                      ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคําสั่งยกคําร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
                      จําเลยอุทธรณ์

                      ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

                      จําเลยฎีกา
                      ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปงญหาต้องวินิจฉัยในประการแรกว่า คําร้องของจําเลย

               ที่ขอให้มีคําสั่งเพิกถอนการบังคับคดีต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของระยะเวลาตาม

               ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๙๖ วรรคสาม หรือไม่ ในข้อนี้ปรากฏว่า
               ตามคําร้องจําเลยกล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๕

               ให้จําเลยรื้อถอนอาคารไม่มีเลขที่เฉพาะส่วนที่รุกล้ําออกไปจากที่ดินของโจทก์

               โฉนดเลขที่ ๒๑๙๔๐๖ ตําบลบางจาก อําเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร ต่อมาโจทก์นํา
               เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีหลายครั้ง ครั้งแรกรื้อถอนแนวรั้วสังกะสี

               และอิฐมอญ ครั้งที่สอง รื้อถอนแนวผนังอาคารชั้นเดียวบริเวณด้านหลังและส่วน

               ของหลังคาที่รุกล้ําเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งหมด ครั้งสุดท้ายรื้อถอนผนังอาคาร
               ทั้งสองชั้น บริเวณด้านหลังที่ดินพิพาท มีแนวกว้างประมาณ ๓.๖ เมตร ในการ

               ดําเนินการบังคับคดีเป็นการบังคับคดีเกินกว่าคําพิพากษาของศาลชั้นต้น ตามคําพิพากษา

               ของศาลชั้นต้นไม่ได้กําหนดให้จําเลยรื้อถอนอาคารออกไประยะเท่าใดเพียงแต่กําหนดให้
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105