Page 105 - 2557 เล่ม 1
P. 105
๑๐๕
ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ มาตรา ๗, ๘ ทวิ, ๗๒, ๗๒ ทวิ
ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง
จําเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ พิพากษากลับว่า จําเลยทั้งสี่มีความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ วรรคสอง (เดิม), ๓๑๐ วรรคแรก, ๓๑๘ วรรคสาม ประกอบ
มาตรา ๘๓ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด
ไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ฐานร่วมกันข่มขืนกระทําชําเราอันมีลักษณะ
เป็นการโทรมหญิงและฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง เป็นการกระทํากรรมเดียว
เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันข่มขืนกระทําชําเราอันมี
ลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ จําคุกคนละ ๑๕ ปี ฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
จําคุกคนละ ๓ ปี รวมจําคุกคนละ ๑๘ ปี ทางนําสืบของจําเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓
เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๗๘ ให้หนึ่งในสาม คงจําคุกจําเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ คนละ ๑๒ ปีคําขออื่นให้ยก
จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นฎีกาฟงงได้ว่า
ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จําเลยที่ ๑ และที่ ๔ กับพวกร่วมกันพา
ผู้เสียหายที่ ๑ ไปข่มขืนกระทําชําเราในลักษณะเป็นการโทรมหญิง คดีมีปงญหา
ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ว่า จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ร่วมกระทําความผิด
ดังกล่าวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ มีคําพิพากษาหรือไม่ โดยจําเลยที่ ๒ และที่ ๓
ฎีกาว่า บันทึกคําให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ ๑ เป็นพยานบอกเล่า
ต้องห้ามมิให้รับฟงงนั้น เห็นว่า โจทก์ไม่มีผู้เสียหายที่ ๑ มาเบิกความเป็นพยาน
เพราะเหตุจําเป็นที่ไม่สามารถติดตามตัวได้ โจทก์จึงอ้างบันทึกคําให้การชั้นสอบสวน
ของผู้เสียหายที่ ๑ เป็นพยานหลักฐานต่อศาล ซึ่งแม้จะถือเป็นพยานบอกเล่า แต่
เมื่อพิจารณาจากสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของบันทึกคําให้การนั้น