Page 106 - 2557 เล่ม 1
P. 106

๑๐๖



               น่าเชื่อว่าผู้เสียหายที่ ๑ ให้การไปตามความจริง กล่าวคือ บันทึกคําให้การดังกล่าว
               ทําต่อหน้านักจิตวิทยาและพนักงานอัยการซึ่งไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด มี

               รายละเอียดข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุผล ไม่มีข้อน่าระแวงสงสัยว่าจะทําขึ้น

               เพื่อใส่ร้ายจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ทั้งในคืนเกิดเหตุผู้เสียหายที่ ๑ ก็เล่าเรื่องราว
               ที่เกิดขึ้นให้ผู้เสียหายที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแล และจ่าสิบตํารวจภักดี กับ

               พันตํารวจตรีนิพล ทราบตั้งแต่แรกตรงกับบันทึกคําให้การนั้น บันทึกคําให้การ

               ชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจึงรับฟงงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
               มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๑) ว่า จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ร่วมกับจําเลยที่ ๑ พาผู้เสียหายที่ ๑

               ไปยังบ้านเกิดเหตุ หลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานตํารวจยังพบรถจักรยานยนต์ของ

               จําเลยที่ ๒ ล้มอยู่ที่บ้านเกิดเหตุ จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ คงอยู่ในที่เกิดเหตุขณะที่
               จําเลยที่ ๑ และที่ ๔ กับพวกร่วมกันผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันข่มขืนกระทําชําเรา

               ผู้เสียหายที่ ๑ แต่จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ไม่ได้ช่วยเหลือหรือห้ามปรามทั้งจําเลยที่ ๓
               กลับจะข่มขืนกระทําชําเราผู้เสียหายที่ ๑ อีกด้วย แต่ได้ให้จําเลยที่ ๑ กระทําก่อน

               ดังนั้น แม้จะไม่ได้ความว่าจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ลงมือข่มขืนกระทําชําเราผู้เสียหายที่ ๑

               แต่พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าเป็นแผนการณ์ที่จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ร่วมกันคบคิดกับพวก
               พาผู้เสียหายที่ ๑ ไปข่มขืนกระทําชําเรา และจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ อยู่ในที่เกิดเหตุ

               ในลักษณะที่พร้อมจะช่วยเหลือได้ จึงถือได้ว่าจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นตัวการร่วม

               กระทําความผิดฐานข่มขืนกระทําชําเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงด้วยแล้ว
               ส่วนที่จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ฎีกาว่า ผู้เสียหายที่ ๑ มีบ้านพักเป็นของตนเอง มีอิสระ

               ในการดํารงชีวิต มีสามีอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และผู้เสียหายที่ ๑

               ขอร้องให้จําเลยที่ ๒ ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งโดยจําเลยที่ ๓ ขับรถจักรยานยนต์
               ตามไปด้วย การกระทําของจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ไม่เป็นการพรากผู้เสียหายที่ ๑ นั้น

               เห็นว่า แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ ๑ จะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดาเนื่องจาก

               บิดาเสียชีวิตแล้วและมารดามีสามีใหม่ แต่ข้อเท็จจริงรับฟงงได้ว่า ผู้เสียหายที่ ๒
               น้าสะใภ้ของผู้เสียหายที่ ๑ เป็นผู้เลี้ยงดูผู้เสียหายที่ ๑ ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ต่อมา

               ผู้เสียหายที่ ๑ พักอาศัยที่บ้านของผู้เสียหายที่ ๑ เอง แต่ก็ห่างจากบ้านผู้เสียหายที่ ๒

               เพียงประมาณ ๕๐ เมตรและมารดาของผู้เสียหายที่ ๑ มาหาผู้เสียหายที่ ๑ บ้าง
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111