Page 129 - 2557 เล่ม 1
P. 129
๑๒๙
เมื่อได้ดํารงตําแหน่งคณบดีแล้วจะแก้ปงญหาสําคัญของคณะได้ จึงมีมติว่า
ยังไม่เลือกผู้ดํารงตําแหน่งคณบดีคณะวิทยาการจัดการ แต่ให้ผู้ได้รับเสนอชื่อ
ทั้ง ๒ ราย จัดทําแผนแสดงภาระงานของอาจารย์ประจําในคณะทั้งหมดในอนาคต
๒ ปีการศึกษาแล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบกับภาระงานของคณะที่ดําเนินการมาแล้ว
๒ ปี ว่ามีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร แล้วนําเสนอสภามหาวิทยาลัยอีกครั้ง
ในระยะเวลาไม่เกิน ๒ เดือน ต่อมาในการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ ๔/๒๕๔๘
สภามหาวิทยาลัยมีมติมอบอํานาจให้อธิการบดีแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนคณบดี
คณะวิทยาการจัดการโดยปฏิบัติหน้าที่ในระยะไม่เกิน ๑๘๐ วัน แล้วจึงจะพิจารณา
บุคคลที่เหมาะสมเป็นคณบดีต่อไป และในการประชุมสภามหาวิทยาลัย
ครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๘ นายศุภกิจได้ขอถอนตัวจึงเหลือโจทก์ผู้ได้รับการเสนอชื่อ
เพียงผู้เดียว แต่สภามหาวิทยาลัยพิจารณาไม่เลือกโจทก์และมีมติเห็นชอบ
ให้ดําเนินการสรรหาคณบดีคณะวิทยาการจัดการใหม่ ต่อมาคณะกรรมการสรรหา
ได้คัดเลือกโจทก์ นายศุภกิจ และนายประทีป เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
และสภามหาวิทยาลัยมีมติให้ความเห็นชอบนายประทีป ดํารงตําแหน่งคณบดี
คณะวิทยาการจัดการ
มีปงญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า ผู้พิพากษาคนเดียว
ในศาลจังหวัดไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งคดีมีมูลนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
เห็นว่า ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ บัญญัติว่า ในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจของศาลนั้น
ดังต่อไปนี้ ... (๓) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา เห็นได้ว่า บทบัญญัติ
ดังกล่าวกําหนดให้ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นเป็นองค์คณะมีอํานาจไต่สวน
มูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญาได้ ดังนั้นคดีอาญาทั้งปวงย่อมอยู่ในอํานาจ
ของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะทําการไต่สวนมูลฟ้องและเมื่อเห็นว่าคดีมีมูลก็มีอํานาจ
มีคําสั่งว่าคดีมีมูลได้ กระบวนพิจารณาของผู้พิพากษาคนเดียวจึงเป็นการปฏิบัติ
โดยถูกต้องชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟงงไม่ขึ้น
มีปงญหาวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ข้อต่อไปว่า การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต
ให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังจากสืบพยานโจทก์จําเลยเสร็จแล้ว ชอบหรือไม่