Page 130 - 2557 เล่ม 1
P. 130
๑๓๐
เห็นว่า โจทก์ยื่นคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์จําเลย
เสร็จแล้ว แม้จะอ้างเหตุผลว่าไม่สามารถทราบได้ว่าจะต้องนําพยานหลักฐาน
บางอย่างมาสืบ เพราะมีการสรรหาคณบดีคณะวิทยาการจัดการใหม่และเพิ่งมีขึ้น
ภายหลังจากสืบพยานโจทก์จําเลยคดีนี้เสร็จ ซึ่งโจทก์ผ่านการสรรหาเป็นบุคคล
ที่เหมาะสมในการดํารงตําแหน่งคณบดีคณะวิทยาการจัดการ คําร้องขอระบุพยาน
เพิ่มเติมมีพยานมาสนับสนุนว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับ
สมควรที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิทยาการจัดการก็ตาม แต่พยานที่ระบุ
เพิ่มเติมก็ไม่เกี่ยวกับประเด็นในคดีอาญา ซึ่งมีประเด็นว่าจําเลยทั้งสี่ปฏิบัติ
หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือไม่ คําร้องขอระบุพยาน
เพิ่มเติมจึงไม่มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยว่าจําเลยทั้งสี่ได้กระทําผิดในคดีนี้หรือไม่
แต่อย่างใด คําสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม
จึงเป็นดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟงงไม่ขึ้น
ปงญหาตามฎีกาของโจทก์ประการสุดท้ายว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๗
ไม่ได้วินิจฉัยชั่งน้ําหนักคําเบิกความพยานโจทก์ และฟงงพยานหลักฐาน
ขัดต่อข้อเท็จจริงในสํานวน เห็นว่า เป็นฎีกาในปงญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลล่าง
ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้ชอบด้วยเหตุผลแล้ว และไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลง
คําวินิจฉัยของศาลล่าง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา
ศาลฎีกาไม่รับปงญหาดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษา ตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๙ วรรคสอง และพระธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง
พิพากษายืน
(ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์ – ประทีป ดุลพินิจธรรมา – อิสสระ นิ่มละมัย)
ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ - ย่อ
อดุลย์ ขันทอง/วิรัช ชินวินิจกุล - ตรวจ