Page 154 - 2557 เล่ม 1
P. 154
๑๕๔
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปงญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์
ข้อแรกว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๑ มิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๐ เป็นบทมาตราที่ยกขึ้นปรับด้วย คําพิพากษาศาลชั้นต้นและ
ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๘๖ (๗) หรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐
เป็นบทบัญญัติที่ให้อํานาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกําหนดให้
ลงโทษจําคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจําคุกจําเลย
เพียงสถานเดียว โดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติที่บัญญัติว่า
การกระทําเช่นนั้นเป็นความผิดหรือเป็นบทกําหนดโทษแต่อย่างใด แม้ศาลชั้นต้น
และศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ลงโทษจําคุกจําเลยเพียงสถานเดียวในความผิด
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๙ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๓๔๐ ตรี, ๘๐
โดยมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐ เป็นบทมาตราที่ยกขึ้นปรับด้วย
ก็ไม่เป็นเหตุให้คําพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ไม่ชอบด้วย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘๖ (๗) ที่ศาลชั้นต้น
และศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟงงไม่ขึ้น
ปงญหาข้อกฎหมายข้อสุดท้ายต้องวินิจฉัยว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑
หยิบยกปงญหาเกี่ยวกับการริบรถจักรยานยนต์ของกลางขึ้นวินิจฉัยชอบด้วย
กฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ข้อเท็จจริงฟงงเป็นยุติว่า จําเลยพยายามกระแทก
ประตูหน้าร้านที่เกิดเหตุเพื่อเข้าไปในร้านที่เกิดเหตุ แต่ไม่สามารถเข้าได้ จําเลยจึง
ขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไป พฤติการณ์ของจําเลยดังกล่าวคงฟงงได้เพียงว่า
จําเลยมีเจตนาใช้รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับจากการกระทําความผิด
เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น ไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์
ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทําผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ทองคํารูปพรรณ
ของผู้เสียหายโดยตรงแต่อย่างใด รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึง
ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ (๑) และปงญหาว่ารถจักรยานยนต์
ของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทําความผิดหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ
ความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ก็มีอํานาจ