Page 70 - 2557 เล่ม 1
P. 70

๗๐



                      ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
               มาตรา ๒๘๘, ๘๐ จําคุก ๑๐ ปี ทางนําสืบของจําเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา

               มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ ให้หนึ่งในสี่

               คงจําคุก ๗ ปี ๖ เดือน ให้จําเลยชําระเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท แก่โจทก์ร่วมที่ ๑ และ
               ชําระเงิน ๔,๐๐๐ บาท แก่โจทก์ร่วมที่ ๒ คําขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

                      จําเลยอุทธรณ์

                      ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษายืน
                      จําเลยฎีกา

                      ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฎีกาของจําเลยที่ว่า โจทก์ร่วมทั้งสองติดตามมาท้าทาย

               จําเลยที่บ้านของจําเลย โดยโจทก์ร่วมที่ ๑ วิ่งมาภายในบริเวณบ้านของจําเลย
               จําเลยจึงวิ่งไปหยิบมีดพร้ามาถือไว้และแกว่งไปมาเพื่อป้องกันตัว การกระทําของ

               จําเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จําเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้องนั้น
               เห็นว่า เป็นฎีกาในปงญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยข้อเท็จจริง

               ดังกล่าวไว้ชอบด้วยเหตุผลแล้ว และไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคําวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสอง

               ฎีกาของจําเลยจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณา
               พิพากษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๙ วรรคสอง

               และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง

                      อนึ่ง การที่โจทก์ร่วมที่ ๒ มีเรื่องต่อยกับจําเลยก่อน ต่อมาในวันเดียวกัน
               โจทก์ร่วมทั้งสองติดตามไปท้าทายจําเลยที่บ้านของจําเลยให้ออกมาต่อสู้กัน

               จากนั้นจึงเกิดเหตุการณ์ต่อสู้กันโดยจําเลยใช้มีดพร้าฟงนโจทก์ร่วมทั้งสองได้รับ

               บาดเจ็บ พฤติการณ์แห่งคดีจึงฟงงได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสองสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจําเลย
               โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ และ

               ไม่มีสิทธิยื่นคําร้องขอให้บังคับจําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมาย

               วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๔/๑ วรรคหนึ่ง ได้ ปงญหาดังกล่าวเป็นปงญหา
               ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอํานาจหยิบยกขึ้นแก้ไขให้

               ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง

               ประกอบมาตรา ๒๒๕
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75