Page 90 - 2557 เล่ม 1
P. 90
๙๐
๗๒ วรรคสาม, ๗๒ ทวิ วรรคสอง การกระทําของจําเลยเป็นความผิดหลายกรรม
ต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๙๑ ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น เป็นการกระทําโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
จําคุก ๗ ปี ฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
จําคุก ๑ ปี ฐานพาอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปในเมือง
หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควรเป็นกรรมเดียว
เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ซึ่งเป็น
กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ จําคุก ๖ เดือน
รวมจําคุก ๘ ปี ๖ เดือน ทางนําสืบของจําเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ
ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจําคุก ๕ ปี ๘ เดือน
ข้อหาอื่นและคําขออื่นให้ยก
โจทก์และจําเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ พิพากษายืน
จําเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จําเลยฎีกาว่า การกระทําของจําเลยเป็นการป้องกัน
โดยชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจําเลยในความผิดฐาน
พยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จําเลยอุทธรณ์ว่า จําเลยไม่ใช่
คนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย ไม่ได้อุทธรณ์ว่าหากฟงงว่าจําเลยเป็นคนร้ายที่ใช้
อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย การกระทําของจําเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วย
กฎหมายด้วย ดังนี้ ข้อที่ว่าการกระทําของจําเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
จึงยุติไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จําเลยเพิ่งยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างในชั้นฎีกาว่า
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าพวกของผู้เสียหายจะหยุดการทําร้ายจําเลยกับพวกเมื่อใด
ทั้งพวกผู้เสียหายยังทําร้ายนายวิรุจน์ ซึ่งยืนอยู่กับจําเลยด้วยอาวุธมีคมฟงนจนสลบ
บริเวณที่เกิดเหตุ การกระทําของจําเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึง
เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ต้องห้ามมิให้ฎีกา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๙ วรรคหนึ่ง ประกอบ