Page 21 - คู่มือมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรม
P. 21
10 มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ประเภทบริหาร
ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๓ : ๓๐ ตุลาคม 25๕๖
ตำแหน่งประเภท บริหาร
ชื่อสายงาน ตรวจราชการ
ชื่อตำแหน่งในสายงาน ผู้ตรวจราชการ
ระดับตำแหน่ง ระดับสูง
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ตรวจราชการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจแนะนํา ติดตาม เร่งรัด
และประเมินผลสัมฤทธิ์ในภารกิจหลักและภารกิจที่สําคัญของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานศาลยุติธรรม
แนะนําการปฏิบัติราชการแก่หน่วยงานในสังกัดสํานักงานศาลยุติธรรม สืบสวนสอบสวน สดับตรับฟง
ั
เหตุการณ์ เสนอแนะ ติดตาม ประสานงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
๑.๑ ตรวจการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานศาลยุติธรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ในฐานะผู้สอดส่องดูแลแทนเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม เพื่อเร่งรัดการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตาม
นโยบายประธานศาลฎีกา แผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผนการปฏิบัติราชการ และเป้าหมายทุกด้านทั้งใน
ระยะสั้นและระยะยาว และทันต่อสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการ อาทิ
อิทธิพลของการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน การสร้างความร่วมมือระหว่าง ประเทศหรือภูมิภาคในด้านต่างๆ
เป็นต้น
๑.๒ ตรวจ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัดสํานักงาน
ศาลยุติธรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามเป้าหมายนโยบาย
ประธานศาลฎีกา แผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผนการปฏิบัติราชการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งกฎ
ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และรายงานต่อประธานศาลฎีกา คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม แล้วแต่กรณีเพื่อทราบหรือ
พิจารณาสั่งการ
๑.๓ สั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้รับตรวจปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติงานใดๆ ในระหว่าง
การตรวจราชการไว้ก่อนหากเห็นว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือประโยชน์ของประชาชน
อย่างร้ายแรง เพื่อระงับความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่หรือประชาชน
ส่วนอัตรากำลังและค่าตอบแทน สำนักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม