Page 88 - annual 2561
P. 88
คดีพิพาทเกี่ยวกับการเลิกจ้างอาจารย์
ในสถานศึกษาเอกชน
อยู่ในเขตอำานาจของศาลใด
การให้บริการด้านการศึกษาถือเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของรัฐใน โดย
ธนิศรา สิงหาจุลเกตุ
ประเทศไทย นอกจากรัฐจะเป็นผู้จัดให้มีการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาโดยการ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำา
กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
จัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐแล้ว ยังเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมจัดการเรียนการสอนได้ ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัย
โดยมีเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ อีกด้วย บุคคล ชี้ขาดอำานาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ท�าหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีการก�าหนด
ความหมายไว้ตามบทนิยามของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖ ว่า “คณาจารย์” หมายความว่า ศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ
รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
พิเศษอาจารย์และอาจารย์พิเศษ ซึ่งท�าหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัย
ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดังนั้นบุคลากรในสถาบันการศึกษาตามที่กล่าวมานี้จึงถือ
เป็นบุคคลที่มีบทบาทส�าคัญที่จะท�าให้การด�าเนินการบริการสาธารณะด้านการศึกษา
บรรลุผล อย่างไรก็ตามการจะพิจารณาว่ากรณีที่เกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้าง
ระหว่างคณาจารย์และสถาบันการศึกษาเอกชนอยู่ในเขตอ�านาจของศาลใดนั้น มีสิ่งที่
ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้
๑
๑. เขตอ�านาจศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๔
๒
มาตรา ๑๙๗ ส�าหรับข้อพิพาทเกี่ยวกับการเลิกจ้างอาจารย์ในสถาบันการศึกษาคงมี
ประเด็นเรื่องเขตอ�านาจศาลให้พิจารณาเพียงว่าคดีอยู่ในเขตอ�านาจของศาลยุติธรรม
หรือศาลปกครอง
๒. เขตอ�านาจศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ
วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ ทั้งนี้มีประเด็นต้องพิจารณาว่าคดี
ดังกล่าวเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) หรือ
๑ มาตรา ๑๙๔ วรรคหนึ่ง ศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีอ�านาจในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอ�านาจของศาลอื่น
๒ มาตรา ๑๙๗ วรรคหนึ่ง ศาลปกครองมีอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจาก
การใช้อ�านาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการด�าเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ตามที่
กฎหมายบัญญัติ
80