Page 257 - วารสารกฎหมาย ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษ
P. 257
ฉบับพิเศษ ประจำ�ปี 2564
พัฒนาการในการจัดเก็บภาษีผลก�าไรจากการประกอบธุรกิจ
ระหว่างประเทศผ่านสถานประกอบการถาวรสู่ความพยายาม
ในการจัดเก็บภาษีจากกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ระหว่างประเทศในปัจจุบัน
ดร.สุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ์*
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลภาษีอากรกลาง
นางสาวอรกานต์ พิพัฒน์นรเศรษฐ์**
ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
1. บทน�า
ี
ก่อนหน้าท่เทคโนโลยีและระบบอินเตอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในการประกอบธุรกิจการ
ิ
่
ิ
ู
็
ื
ิ
้
็
ิ
คาระหวางประเทศจนกลายมาเปนรปแบบของกจการพาณชย์อเลกทรอนกส์ หรอ e-commerce
ดังเช่นในปัจจุบัน การทําธุรกิจของวิสาหกิจข้ามชาติมักกระทําผ่านสถานประกอบการรูปแบบ
ต่าง ๆ ของตนที่ตั้งอยู่ในประเทศคู่ค้าเท่านั้น เช่น สํานักงาน สาขา โรงงาน สถานประกอบการ
หรือผู้แทนของวิสาหกิจข้ามชาติที่อยู่ในประเทศคู่ค้า เป็นต้น ซึ่งการประกอบธุรกิจลักษณะเดิม
ํ
้
ดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาการจัดเก็บภาษีซาซ้อนในผลกําไรที่วิสาหกิจข้ามชาติได้รับ กล่าวคือ
ี
ี
ิ
วิสาหกิจข้ามชาติย่อมมีภาระภาษีในประเทศท่ตนเองมีถ่นท่อยู่และยังอาจมีภาระภาษีในประเทศ
ี
ท่เข้าไปประกอบกจการซ่งเป็นประเทศแหล่งเงินได้อีกด้วย กลายมาเป็นอุปสรรคสําคัญในการ
ิ
ึ
ื
พัฒนาการค้าระหว่างประเทศอย่างมีนัยสําคัญ และเพ่อบรรเทาปัญหาทางภาษีดังกล่าว องค์การ
เพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and
Development – OECD) และองค์การสหประชาชาติ (United Nation-UN) ต่างพัฒนาต้นแบบ
* นบ. (เกียรตินิยมอันดับสอง) ธรรมศาสตร์, นบ.ท., LL.M. in Taxation Northwestern University, LL.M. in Taxation
New York University, น.ด. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
** นบ. (เกียรตินิยมอันดับสอง) ธรรมศาสตร์, นบ.ท., LL.M. in International Financial Law King’s College London,
LL.M. in Taxation Northwestern University.
255