Page 55 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๑-๒๕๖๑-กฎหมายฯ
P. 55

´ØžÒË





                       ศาสตราจารย ดร. บรรเจิด สิงคะเนติ

                       คณบดีคณะนิติศาสตร สถาบันพัฒนบริหารศาสตร

                       ประเด็นที่จะพูดคือ ประเด็นพื้นฐานเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

              ความหมายประเด็นใหญคือศักดิ์ของกฎหมายวาสูงกวากฎหมายทั่วไปหรือไม แนวคิด สถานะ
              และในระบบกฎหมายไทย ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีครั้งแรก ป ๒๕๔๐


                       กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (Organic law) คือ กฎหมายที่วางกฎเกณฑสําคัญ
              ของรัฐธรรมนูญซึ่งไมสามารถกําหนดรายละเอียดทั้งหมดไวในรัฐธรรมนูญไดจึงแยกออกมา
              บัญญัติตางหากจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีกระบวนการตราและแกไขที่ตางจากกฎหมายอื่น ทั้งนี้

              กฎหมายดังกลาวมิไดมีสถานะเดียวกับรัฐธรรมนูญ เมื่อดูกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญกับระบบ

              กฎหมายไทย ป ๒๕๔๐ เราตั้งองคกรอิสระขึ้นเพื่อใหตรวจสอบรัฐบาล สถานะขององคกร
              ก็มีความสําคัญซึ่งถาเขียนในรัฐธรรมนูญก็จะยาวมากจึงเกิดกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
              สาระสําคัญตองเปน (๑) กฎหมายที่วางกฎเกณฑสําคัญของรัฐธรรมนูญ เชน กระบวนการ

              เขาสูอํานาจขององคกรตามรัฐธรรมนูญ การกําหนดองคประกอบการไดมาขององคกร

              ตามรัฐธรรมนูญ (๒) กฎเกณฑสําคัญของรัฐธรรมนูญตองเปนเรื่องรายละเอียดที่มีการกําหนด
              หลักการพื้นฐานไวในรัฐธรรมนูญแลว และกฎเกณฑที่เปนรายละเอียดนั้นไมจําเปนตองกําหนด
              ไวในรัฐธรรมนูญทั้งหมดแตใหอยูในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ความหมายเปนการกําหนด

              ความสัมพันธระหวางองคกรที่ใหรัฐธรรมนูญกับองคกรที่รับอํานาจจากรัฐธรรมนูญ คือ องคกร

              ที่ใหรัฐธรรมนูญคือกําหนดกติกาทั้งหลายของรัฐธรรมนูญจะวางกฎเกณฑ สวนองคกรที่รับ
              อํานาจจากรัฐธรรมนูญ ปจจุบันคือ สภานิติบัญญัติแหงชาติ (สนช.) และมาวางกฎเกณฑ
              รายละเอียดของกฎหมายประกอบฯ อีกชั้นหนึ่ง กรณีนี้บอกวาสถานะของรัฐธรรมนูญ

              กับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญยอมมีสถานะไมเหมือนกันเพราะกระบวนการตราไมใช

              องคกรเดียวกัน องคกรที่ตรารัฐธรรมนูญคือองคกรที่ใหรัฐธรรมนูญมีกระบวนการตองประชามติ
              แตกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสถานะจะแตกตาง (๓) เปนกฎเกณฑที่มีกระบวนการตรา
              และการแกไขที่แตกตางจากกฎหมายอื่น เชน ผูริเริ่มเสนอ จํานวนเสียงที่ใหความเห็นชอบ

              กระบวนการกอนการประกาศใชตองถูกตรวจสอบกอน เพราะกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ

              มิไดมีสถานะเชนเดียวกับรัฐธรรมนูญ สรุป กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเปนกฎหมาย
              ที่โดยทั่วไปแลวมีกระบวนการตราเฉพาะของตนที่แตกตางจากกฎหมายธรรมดา
              และรัฐธรรมนูญ






              ๔๔                                                              เลมที่ ๑ ปที่ ๖๕
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60