Page 36 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 36
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 25
ข้อสังเกต
1. กรณีโจทก์บรรยายฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ใช่ฟ้องที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งศาล
ต้องมีค าสั่งให้แก้ไขตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้อง (อุทธรณ์แดงที่
๑๒๗๒๒/๒๕๖๐ ระหว่างนายฐิติพงศ์ โจทก์ นายรังสรรค์ จ าเลย, อุทธรณ์แดงที่ ๑๕๔๙๕/๒๕๖๐
ระหว่างนางสาวสุรัชนีหรือบุษกร โจทก์ นายจิรวัฒน์ จ าเลย)
หมายเหตุ
ในชั้นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ คณะกรรมาธิการวิสามัญของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นว่าศาลอาจสั่งให้แก้ไขฟ้องกรณีฟ้องขาดองค์ประกอบความผิดได้
ต่อมามีการร่างข้อบังคับของประธานศาลฎีกาตามแนวทางของคณะกรรมาธิการข้างต้น
แต่มติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นว่าไม่สามารถแก้ไขฟ้องได้
2. คดีที่พนักงานอัยการ คณะกรรมการ ป.ป.ช. อัยการสูงสุดหรือประธานกรรมการ
ป.ป.ช. เป็นโจทก์ หากศาลจะมีค าสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ศาลอาจมีค าสั่ง
ประทับฟ้องไว้ก่อนแล้วให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ก าหนด หรือศาลอาจสั่งให้
โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ก าหนดโดยยังไม่มีค าสั่งประทับฟ้องก็ได้ กรณีศาลยังไม่มี
ค าสั่งประทับฟ้อง ศาลไม่มีอ านาจรับตัวจ าเลยไว้พิจารณา (ยังไม่สามารถขังหรือให้ปล่อย
ชั่วคราวได้)
๓. คดีผู้เสียหายเป็นโจทก์ ในชั้นตรวจฟ้อง หากศาลมีค าสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องแล้ว
แต่โจทก์ไม่ด าเนินการภายในระยะเวลาที่ก าหนด ศาลชอบที่จะมีค าสั่งไม่รับฟ้อง ตาม พ.ร.บ.
วิ. ทุจริตฯ มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา ๑๘ วรรคสอง หากศาลมีค าสั่งให้โจทก์
แก้ฟ้องหลังจากที่รับไว้ไต่สวนมูลฟ้องแล้ว แต่โจทก์ไม่ด าเนินการภายในระยะเวลาที่ก าหนด
ให้มีค าสั่งทิ้งฟ้อง ตาม พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๔ (๒)
อย่างไรก็ตาม ถ้าโจทก์ยื่นค าร้องขอถอนฟ้อง โดยให้เหตุผลว่าจะน าฟ้องที่สมบูรณ์
มาฟ้องใหม่ เมื่อศาลอนุญาตแล้ว หากโจทก์น าคดีมาฟ้องใหม่ถือว่าสิทธิน าคดีอาญามาฟ้องระงับ
(อุทธรณ์แดงที่ ๑๐๖๕๓/๒๕๖๑ ระหว่างนางสาวพรพิมล โจทก์ นายฉลอง จ าเลย, ฎีกาที่
2927/2529)