Page 37 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 37

คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
                                                                                                        | 26



                                ๔. การชี้ช่องพยานหลักฐาน คือ การชี้ให้ศาลเห็นว่าโจทก์มีพยานหลักฐานใด

                     เกี่ยวข้องบ้าง และเกี่ยวข้องอย่างไร โดยโจทก์อาจบรรยายมาในฟ้อง หรือจัดท าเป็น

                     เอกสารแนบท้ายฟ้องก็ได้ ซึ่งการชี้ช่องพยานหลักฐานต้องระบุให้ชัดเจนเพียงพอ เช่น กรณี

                     พยานบุคคลต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นใครบ้าง รู้เห็นประเด็นใด และอย่างไรโดยสรุป ตัวอย่าง

                     เอกสารชี้ช่องปรากฏตาม ภาคผนวก 7 หากไม่ระบุหรือระบุไว้แต่ไม่ชัดเจนย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ


                     ศาลชอบที่จะมีค าสั่งให้แก้ฟ้อง หรืออาจมีค าสั่งหรือค าพิพากษาอื่นใดตามที่เห็นสมควร

                                      หมายเหตุ

                                      การชี้ช่องพยานหลักฐานนอกจากจะเป็นกระบวนการที่ชี้ให้ศาลได้เห็น

                     ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน อันเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาความจริงในระบบไต่สวนที่ต้องมี

                     รายละเอียดครบถ้วนนับแต่เริ่มต้นกระบวนการแล้ว ยังเป็นกระบวนการส าคัญที่ศาลใช้ในการ


                     กลั่นกรองคดีเบื้องต้นว่าสมควรจะนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ คดีใดที่โจทก์ชี้ช่องพยานหลักฐาน

                     ได้ชัดเจนเพียงพอก็ควรนัดไต่สวนมูลฟ้อง ให้โอกาสโจทก์ในการน าพยานหลักฐานดังกล่าว

                     มาแสดงต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แต่หากคดีใดโจทก์ไม่สามารถชี้ช่องพยานหลักฐาน

                     ได้ชัดเจนเพียงพอ ก็ควรที่จะยกฟ้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คดีที่ฟ้องโดยไม่สุจริตหรือ

                     กลั่นแกล้งฟ้องจะเห็นได้ชัดเจนว่าส่วนใหญ่โจทก์จะไม่สามารถชี้ช่องพยานหลักฐานให้สอดรับ

                     กับที่บรรยายฟ้องได้



                                ๕. การสั่งแก้ฟ้องควรระบุให้ชัดเจนว่าแก้ในประเด็นใด อย่างไร กรณีที่เกี่ยวข้องกับ

                     เอกสารใด เช่น กฎหมาย ระเบียบ ค าสั่งหรือข้อบังคับ เป็นต้น ต้องสั่งให้โจทก์บรรยายมา

                     ให้ชัดเจนหรือแนบเอกสารดังกล่าวประกอบด้วย หากโจทก์แก้ฟ้องมาไม่ชัดเจนก็ไม่ควร

                     ให้แก้ฟ้องอีก เนื่องจากจะท าให้คดีต้องเนิ่นช้าออกไปมาก เว้นแต่มีเหตุจ าเป็นก็ให้ใช้ดุลพินิจ

                     พิจารณาตามที่เห็นสมควร


                                ๖. หากเห็นควรเรียกพยานเอกสารจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ให้ท าเป็น

                     หนังสือโดยให้เจ้าพนักงานคดีเป็นผู้ลงนาม ตาม พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มาตรา ๗ และข้อบังคับของ

                     ประธานศาลฎีกาฯ ข้อ ๑๖ เว้นแต่มีเหตุอันสมควร เช่น ขอเรียกเอกสารจากบุคคลที่มีต าแหน่ง

                     หน้าที่ระดับสูงหรือส าคัญ หรือเอกสารที่เรียกเป็นหลักฐานส าคัญ เช่น การขอส านวนหรือ

                     เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน ไต่สวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช. ป.ป.ท. กรมสอบสวนคดีพิเศษ

                     พนักงานอัยการ หรือหน่วยงานของศาล ให้ผู้พิพากษาเจ้าของส านวนเป็นผู้ลงนามในหนังสือ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42