Page 38 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 38
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 27
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอเอกสารหรือส านวนจากศาล ให้ท าเป็นหนังสือทุกกรณี ส่วนเอกสาร
เมื่อได้รับมาแล้วไม่จ าต้องสั่งให้โจทก์ตรวจสอบหรือคัดค้าน ไม่ว่าในท้ายที่สุดแล้วจะน าเอกสาร
ดังกล่าวมาวินิจฉัยหรือไม่ หรือวินิจฉัยให้เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ฝ่ายใดก็ตาม เนื่องจาก
ชั้นตรวจฟ้องเป็นบทบาทและหน้าที่ของศาลในการแสวงหาความจริงที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับฝ่ายใด
ประกอบกับการให้โจทก์ตรวจสอบหรือคัดค้านในชั้นตรวจฟ้องได้ กระบวนการก็จะไม่แตกต่าง
กับการไต่สวนมูลฟ้อง ส าหรับเอกสารที่เป็นความลับ ควรสั่งให้แยกเก็บ และห้ามไม่ให้ผู้ใด
ตรวจสอบหรือคัดถ่าย ทั้งนี้ การพิจารณาเรียกเอกสารใดจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก
ควรเรียกเฉพาะเอกสารที่เกี่ยวข้องและเป็นประเด็นโดยตรงแห่งคดีเท่านั้น
หมายเหตุ
กรณีมีหนังสือเรียกเอกสารแล้ว แต่ไม่มีการส่งเอกสารมาให้ มีปัญหาว่า
ศาลมีอ านาจออกหมายเรียกเอกสารได้หรือไม่ ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน โดยความเห็นที่หนึ่ง
เห็นว่า ศาลมีอ านาจออกหมายเรียกเอกสารดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มาตรา ๒๓ ได้
ส่วนความเห็นที่สองเห็นว่า ชั้นตรวจฟ้องศาลยังไม่มีอ านาจหมายเรียกเอกสารตาม พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ
มาตรา ๒๓ ได้ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวใช้ในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีประกอบกับข้อบังคับ
ของประธานศาลฎีกาฯ ข้อ ๑๖ ให้อ านาจศาลในชั้นตรวจฟ้องเฉพาะการมีหนังสือเรียกเท่านั้น
1.๓.๓ ไม่ประทับฟ้อง
ศาลจะมีค าสั่งไม่ประทับฟ้องในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) คดีไม่อยู่ในอ านาจศาล (ฎีกาที่ ๓๙๓๗/๒๕๓๕)
(2) กรณีการกระท าอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันในความผิดที่
เกี่ยวข้องกันและศาลใช้ดุลพินิจไม่รับพิจารณาพิพากษาเฉพาะกรรมที่ไม่อยู่ในอ านาจของ
ศาลอาญาคดีทุจริตฯ
- ในส่วนท้ายของค าสั่งกรณีอัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธาน
กรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ หลังจากให้เหตุผลที่ไม่รับไว้พิจารณา
แล้วใช้ว่า
“...จึงมีค าสั่งประทับฟ้องในความผิดฐาน ... ส่วนความผิดฐาน ...
ไม่รับไว้พิจารณา ให้โจทก์แยกฟ้องจ าเลยเป็นคดีใหม่ยังศาลที่มีอ านาจพิจารณา”