Page 43 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 43
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 32
คดีถึงที่สุดเพียงในชั้นศาลอุทธรณ์ เป็นต้น แต่ถ้าหากพิจารณาเป็นรายบุคคลปัญหาดังกล่าวข้างต้น
จะไม่เกิดขึ้น กล่าวคือ กรณีตามค าวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ที่ วท. 9 - 10/2561
ส าหรับส านวนคดีแรก หากประธานศาลอุทธรณ์ชี้ขาดว่าคดีส าหรับจ าเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็น
คดีทุจริตฯ ส่วนคดีส าหรับจ าเลยที่ 1 ไม่ใช่คดีทุจริตฯ ศาลชั้นต้นที่รับฟ้องไว้ (ศาลอาญา)
ก็จะเพิกถอนค าสั่งเดิมเป็นไม่รับฟ้องจ าเลยที่ 2 ถึง 4 เนื่องจากต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งฯ
มาตรา 10 เพื่อให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลอาญาคดีทุจริตฯ กลาง กรณีนี้ศาลอาญาคดีทุจริตฯ กลาง
ควรใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งฯ มาตรา 9 รับฟ้องไว้เฉพาะข้อหาให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน
ส่วนข้อหาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไม่รับไว้พิจารณาพิพากษาโดยสั่งให้โจทก์แยกฟ้องเป็น
คดีใหม่ยังศาลที่มีเขตอ านาจคือศาลอาญา ก็จะท าให้ศาลอาญาเป็นศาลที่มีอ านาจพิจารณา
พิพากษาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดส าหรับจ าเลยทุกคนเพียงศาลเดียว ปัญหาเกี่ยวกับ
ผลของค าพิพากษาแตกต่างกันจึงไม่มี และไม่ท าให้จ าเลยอื่นที่ไม่ได้ถูกฟ้องขอให้ลงโทษ
ในความผิดคดีทุจริตฯ ได้รับผลกระทบจากวิธีพิจารณาคดีทุจริตฯ
ความเห็นที่สาม เห็นว่า การพิจารณาว่าคดีใดเป็นคดีทุจริตฯ หรือไม่
ต้องพิจารณาเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงแห่งการกระท าความผิดว่ามีเรื่องการทุจริตฯ เข้ามา
เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่เป็นส าคัญ กล่าวคือ เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงใดที่มีการกระท าความผิด
ไม่ว่าจะมีความผิดกี่ข้อหา หรือบุคคลเกี่ยวข้องกี่คน ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีลักษณะการกระท า
ความผิดข้อหาใดที่เข้าข่ายคดีทุจริตฯ คดีดังกล่าวย่อมเป็นคดีทุจริตฯ พนักงานอัยการชอบที่จะ
ฟ้องจ าเลยที่เกี่ยวข้องทุกคนต่อศาลอาญาคดีทุจริตฯ ไม่ว่าจะฟ้องจ าเลยแต่ละคนมาในคราวเดียวกัน
หรือไม่ก็ตาม และศาลอาญาคดีทุจริตฯ ต้องรับคดีดังกล่าวไว้ เว้นแต่เป็นการใช้ดุลพินิจตาม
พ.ร.บ. จัดตั้งฯ มาตรา ๙ ที่สั่งให้โจทก์แยกฟ้องเป็นคดีใหม่ยังศาลที่มีเขตอ านาจ ตัวอย่างเช่น
เจ้าพนักงานต ารวจจับกุมจ าเลยทั้งสิบได้พร้อมยาเสพติดของกลาง ระหว่างควบคุมตัวจ าเลยที่ ๑
เสนอให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน เมื่อพนักงานอัยการฟ้องคดีต้องฟ้องจ าเลยที่เกี่ยวข้องทุกคน
ต่อศาลอาญาคดีทุจริตฯ พนักงานอัยการไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกฟ้องจ าเลยคนใดต่อศาลอื่นที่ไม่ใช่
ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ได้ และศาลอาญาคดีทุจริตฯ ต้องรับคดีดังกล่าวไว้ เมื่อน าหลักความเห็นที่สาม
ปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในค าวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ที่ วท. ๙ – ๑๐/๒๕๖๑
ข้างต้น แม้ส านวนคดีที่สองจะไม่มีจ าเลยถูกฟ้องในข้อหาคดีทุจริตฯ มาด้วย แต่เมื่อพิจารณา
เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงแห่งการกระท าความผิดซึ่งมีเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบเข้ามา