Page 44 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 44
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 33
เกี่ยวข้องแล้ว ส านวนคดีที่สองควรเป็นคดีทุจริตฯ ด้วย ดังนั้น การใช้หลักการวินิจฉัยรายส านวน
และพิจารณาเพียงฟ้องว่ามีจ าเลยคนใดถูกฟ้องในข้อหาคดีทุจริตฯ หรือไม่ ย่อมเป็นการตีความ
ที่จ ากัด ไม่สอดรับกับความเป็นจริงของเหตุการณ์ ซึ่งหลักการวินิจฉัยคดีโดยค านึงถึงเหตุการณ์
หรือข้อเท็จจริงแห่งการกระท าความผิด ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพิจารณาพิพากษาคดีของ
จ าเลยทุกคนให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ไม่เกิดความลักลั่นแต่อย่างใด
6. กรณีที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีทุจริตฯ ต่อศาลที่ไม่มีเขตอ านาจ และ
ศาลมีค าสั่งประทับฟ้อง และด าเนินกระบวนพิจารณาไปแล้ว ต่อมามีการตรวจพบการ
ด าเนินการของศาลที่ไม่มีเขตอ านาจสามารถท าได้ ๒ กรณี คือ
(๑) กรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่าเป็นคดีทุจริตฯ เช่น จ าเลยถูกฟ้อง
ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๔ มาด้วย (โจทก์ฟ้องผิดศาล และศาลรับไว้โดยผิดหลง)
ให้สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนับแต่วันที่ประทับฟ้อง และให้โจทก์น าคดีไปฟ้อง
ยังศาลอาญาคดีทุจริตฯ ที่มีเขตอ านาจต่อไป
(๒) กรณีที่ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าเป็นคดีทุจริตฯ หรือไม่ ให้ส่งให้
ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัย หากประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นคดีทุจริตฯ ให้สั่งเพิกถอน
กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนับแต่วันที่ประทับฟ้อง และให้โจทก์น าคดีไปฟ้องยังศาลอาญา
คดีทุจริตฯ ที่มีเขตอ านาจต่อไป ศาลที่ไม่มีเขตอ านาจไม่อาจโอนคดีไปยังศาลอาญาคดีทุจริตฯ
ได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับในเรื่องของการโอนคดีไว้ดังเช่น พ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัย
ชี้ขาดอ านาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือ พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและ
วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ ทั้งไม่มีกฎหมายอื่นใดให้อ านาจในการ
โอนคดีไว้ ส าหรับการควบคุมตัวจ าเลยกรณีจ าเลยไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นพิจารณา
มีแนวความเห็นให้ศาลที่รับคดีไว้โดยผิดหลงสั่งให้ควบคุมตัวจ าเลยไว้จนกว่าโจทก์จะน าคดี
ไปฟ้องยังศาลอาญาคดีทุจริตฯ ที่มีเขตอ านาจ อย่างไรก็ตาม มีแนวความเห็นในอีกทางหนึ่ง
มองว่าเมื่อเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้ว ศาลที่เพิกถอนย่อมไม่มีอ านาจควบคุม
ตัวจ าเลยได้ การควบคุมตัวจ าเลยไว้เพื่อรอให้โจทก์ไปฟ้องอีกศาลจึงไม่น่าจะกระท าได้ ควรที่จะ
มอบตัวจ าเลยให้โจทก์รับตัวไปฟ้อง
7. กรณีผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจ าเลยตาม ป.อ. ในการกระท า
กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และไม่มีบทใดบทหนึ่งอยู่ในอ านาจของศาลอาญา