Page 4 - แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับดุลพินิจในการรอหรือไม่รอการลงโทษหรือกำหนดโทษ
P. 4

3




                         เมื่อวินิจฉัยว่าการกระท าของจ าเลยเป็นการกระท าความผิดโดยบันดาลโทสะแล้ว ศาลฎีกาต้อง

               ก าหนดโทษจ าเลยใหม่ ซึ่งเห็นว่าโทษจ าคุกที่ศาลชั้นต้นก าหนดมานั้นเหมาะสมแล้ว แต่การที่จ าเลยใช้อาวุธ
               ปืนยิงผู้ตาย ๖ ถึง ๗ นัด จนผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นเรื่องที่ร้ายแรง จึงไม่มีเหตุจะรอการลงโทษให้แก่

               จ าเลย

                         ๑๐๖๐๓/๒๕๕๕ มีความผิดตาม ป.อ มาตรา ๒๙๑, ๓๐๐, ๓๙๐ จ าคุกจ าเลยที่ ๑ มีก าหนด ๖ ปี

               และจ าคุกจ าเลยที่ ๒ มีก าหนด ๔ ปี (จ าเลยที่ ๑ เป็นพนักงานขับรถไฟ จ าเลยที่ ๒ เป็นช่างเครื่อง)


                         พฤติการณ์ของจ าเลยทั้งสองเป็นเรื่องร้ายแรง มีผู้ถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัส และได้รับ
               อันตรายแก่กายหรือจิตใจหลายคน ยังไม่สมควรรอการลงโทษจ าคุก


                                                                                                        ุ
                         ๕๗๗๕/๒๕๕๗ มีความผิดตาม ป.อ มาตรา ๒๙๑, ๓๐๐ รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจ าคก ๑
               ปี

                         ขณะเกิดเหตุจ าเลยขับรถด้วยความเร็วสูงจนไม่สามารถควบคุมรถให้แล่นอยู่ในช่องเดินรถ และ

               รถยนต์เสียการทรงตัวไถลพุ่งชนเสาไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางถนน เป็นเหตุให้รถพลิกคว่ า ท าให้ผู้โดยสาร
               มาในรถยนต์คันที่จ าเลยขับถึงแก่ความตาย ๑ คน และรับอันตรายสาหัส ๙ คน ลักษณะการกระท าความผิด

               ของจ าเลยเป็นการกระท าโดยประมาทอย่างร้ายแรงและปราศจากความรับผิดของจ าเลยเป็นการกระท าโดย
               ประมาทอย่างร้ายแรงและปราศจากความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของผู้อื่น

               ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ทั้งหลังเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจ าเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่

               โจทก์ร่วมที่ ๑ เพื่อบรรเทาผลร้ายจนพอใจ คงมีเพียงบริษัทนายจ้างและผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่รับผิดชอบ
               ต่อโจทก์ร่วมที่ ๒ และผู้เสียหายทั้งเก้าเท่านั้น แสดงว่าจ าเลยไม่ได้ส านึกในการกระท าความผิดของตน แม้

               จ าเลยจะไม่เคยกระท าความผิดมาก่อน ก็ไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจ าคุกให้แก่จ าเลย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๙
               ไม่รอการลงโทษจ าคุก ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่เนื่องจากโจทก์ร่วมที่ ๒ และผู้เสียหายอื่นได้รับการชดใช้

               ค่าเสียหายจากบริษัทนายจ้างและบริษัทประกันภัยรถยนต์ของนายจ้างจ าเลยแล้ว จึงเห็นสมควรแก้ไข

               ดุลพินิจในการก าหนดโทษจ าเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี

                         ๗๒๔๘/๒๕๕๗ มีความผิดตาม ป.อ มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๘๐ มาตรา ๓๗๑ พ.ร.บ.อาวุธ

               ปืนฯ พ.ศ.๒๔๙๐ มาตรา ๗, ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง ๗๒ วรรคหนึ่ง ๗๒ ทวิ วรรคสอง ประกอบ ป.อ มาตรา ๘๓
               ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ มาตรา ๗๖ รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจ าคุก ๒ ปี ๑๐ เดือน


                         จ าเลยร่วมกับพวกมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตแล้วใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงผู้เสียหาย ๒
               นัด โดยเจตนาฆ่า แต่กระสุนปืนไม่ลั่น ๑ นัด และยิงไม่ถูก ๑ นัด พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จะ

               ไม่ปรากฏว่าจ าเลยเคยได้รับโทษจ าคุกมาก่อน หรือมีเหตุอื่นตามที่จ าเลยฎีกา ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียง

               พอที่จะรอการลงโทษจ าคุกให้แก่จ าเลย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9