Page 12 - การพัฒนามาตรฐานคุณภาพโคขุน
P. 12
6
โคพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านใน
แถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกะทัดรัด ลําตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มี
เหนียงคอแต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน
เหลืองอ่อน ดํา ขาวนวลนํ้าตาลอ่อน และอาจมีสีประรวมอยู่ด้วยเพศผู้โตเต็มที่หนัก
ประมาณ 300-350 กก. เพศเมีย 200-250 กก.
ข้อดี
- เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหารเพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยง
แบบไล่ต้อนโดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
อย่างจํากัดในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
- ให้ลูกดกส่วนใหญ่ให้ปีละตัวเพราะเกษตรกรคัดแม่โคที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ
- ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี
- ใช้แรงงานได้ดี
- แม่โคพื้นเมืองเหมาะที่จะนํามาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น
บราห์มัน โคพันธุ์ตาก โคกําแพงแสน หรือ โคกบินทร์บุรี
- มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารแบบไทย
- สามารถใช้งานได้
ข้อเสีย
- เป็นโคขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจํากัด
- ไม่เหมาะที่จะน ามาเลี้ยงขุนเพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทํานํ้าหนักซากได้ตามที่
ตลาดโคขุนต้องการ คือที่นํ้าหนักมีชีวิต450กก.และเนื้อไม่มีไขมันแทรก
- เนื่องจากแม่โคมีขนาดเล็กจึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับโคพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น
ชาร์โลเล่ส์และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการตลอดยาก