Page 28 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 28

เหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืช ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี หลีกเลี่ยง

               ระยะที่ศัตรูพืชระบาดได้ เป็นแนวทางหนึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ทั้งยังท าให้พืชได้ผลผลิตสูง นอกจากนี้
               ข้อมูลอุตุนิยมวิทยายังช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการให้น้ า การใส่ปุ๋ย การป้องกันก าจัดศัตรูพืช
               และการปฏิบัติอื่น ๆ จนถึงการเก็บเกี่ยวได้ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาสามารถสอบถามและขอได้จาก สถานี

               อุตุนิยมวิทยา ศูนย์สถิติการเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือค้นหาได้จากเอกสารรายงานประจ าปี
               ของบางหน่วยงาน

                               2.3 ข้อมูลดิน เป็นข้อมูลที่บอกให้ทราบว่าดินที่ปลูกมีสภาพอย่างไร หน่วยงานราชการหลาย
               หน่วยงาน เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยบางแห่ง ได้ส ารวจสภาพดินใน
               พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ และแบ่งเป็นกลุ่มดินหรือแบ่งเป็นชุดดินต่าง ๆ ไว้แล้วในรายงานเหล่านี้มักจะให้ข้อมูล

               แนะน าชนิดของพืชไร่ที่ควรปลูกในแต่ละกลุ่มดิน หรือแต่ละชุดดินสามารถน ามาใช้วางแผนได้ ส่วนการ
               วางแผนเฉพาะพื้นที่ ควรเก็บดินเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ส่งไปวิเคราะห์ยังส่วนราชการที่บริการวิเคราะห์ดิน เช่น

               กรมวิชาการ หน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดิน มหาวิทยาลัยบางแห่ง เป็นต้น เพื่อจะได้ข้อมูลละเอียดเฉพาะพื้นที่
               เช่น ปริมาณธาตุอาหาร N P K ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน pH ของดิน เป็นต้น ข้อมูลดินเฉพาะพื้นที่จะช่วยให้
               เกษตรกรวางแผน การเตรียมดิน การปรับปรุงดิน บ ารุงดิน การใส่ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง

                              2.4 ข้อมูลความต้องการของตลาด เป็นข้อมูลส าคัญที่ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจปลูกพืช
               ปริมาณมากหรือน้อย ถ้าตลาดมีความต้องการผลผลิตพืชไร่ชนิดใดมาก ผลผลิตที่ได้ย่อมขายได้หมดและได้

               ราคาดี การคาดการณ์ความต้องการของตลาดจึงเป็นแนวทางที่ควรปฏิบัติ ความต้องการผลผลิตพืชไร่ในรอบปี
               มักมีช่วงเดือนที่ต้องการมาก และช่วงเดือนที่ต้องการน้อย อาจสามารถวางแผนการผลิตให้เก็บเกี่ยวและ
               จ าหน่ายในช่วงที่ตลาดมีความต้องการมาก แต่ผลผลิตมีน้อย เกษตรกรย่อมสามารถขายได้ในราคาสูง ข้อมูล

               เกี่ยวกับความต้องการตลาด สามารถหาได้จากส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ทรวง
               เกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

                               2.5 ข้อมูลราคาผลผลิต ราคาผลผลิตจะขึ้นลงตามปริมาณผลผลิตที่มีอยู่ในตลาด และความ
               ต้องการของตลาด ถ้าผลผลิตมีมากในขณะที่ความต้องการของตลาดไม่มาก ราคาของผลผลิตมักจะตามความ
               เคลื่อนไหวของราคาผลผลิตมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน การก าหนดราคาของผลผลิตพืชไร่บางชนิดขึ้นกับ

               ตลาดโลก เช่น มันส าปะหลัง ข้าว ข้อมูลเกี่ยวกับราคาจึงควรติดตามอย่างสม่ าเสมอ การเก็บรวบรวมข้อมูล
               ราคาผลผลิตอย่างต่อเนื่องสม่ าเสมอ เป็นเวลานานหลาย ๆ ปีจะช่วยให้เกษตรกรสามารถปริมาณราคาผลผลิต

               ได้และเพื่อให้ราคาดีเกษตรกรควรต้องเริ่มต้นวางแผนการปลูก และเลือกพันธุ์ที่จะปลูกให้สามารถเก็บเกี่ยว
               ผลผลิตออกขายในช่วงที่ตลาดต้องการสูง แต่ปริมาณผลผลิตในตลาดมีไม่มาก ข้อมูลราคาผลผลิตสามารถ

               สอบถามได้จากส านักงานเศรษฐกิจ การเกษตรกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

               3. การวางแผนและการเขียนโครงการผลิตพืชไร่

                       หลังจากมีการศึกษา ส ารวจข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการผลิตพืชไร่เรียบร้อย
               แล้ว เกษตรกรต้องน าข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจว่า จะผลิตพืชอะไร ผลิตที่ไหน

               ผลิตอย่างไร ผลิตจ านวนเท่าไหร่ ผลิตเมื่อไร ใครเป็นผู้ดูแล และใช้งบประมาณเท่าไหร่ เมื่อเกษตรกรสามารถ
               ตอบค าถามเหล่านี้ได้ก็น าไปเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกว่า โครงการ ซึ่งโครงการจะเป็นข้อก าหนด

               ที่บ่งบอกแนวทางในการด าเนินงานเป็นระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ท าให้การท างานมีเป้าหมายทิศทางที่



               เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202                   หน้า 25
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33