Page 159 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 159
๐
18 52’ N
๐
99 05’ E
สันเหมือง
เวียงเจ็ดลิน
เวียงสวนดอก เมืองเชียงใหม่
เวียงกุมกำม
ล�ำพูน
มหานครเชียงใหม่ปรากฏชัดเจนในภาพจากดาวเทียม ตั้งแต่บริเวณตีนดอยสุเทพ
ทางทิศตะวันตกข้ามแม่ปิงไปทางตะวันออก มีถนนวงแหวนเป็นแนวล้อมรอบเมืองตัดผ่าน
ถนนเลี่ยงเมืองและอ้อมโค้งเป็นถนนวงแหวนรอบนอกซ้อนกัน ๒ วง ระยะทางจากตีนดอยด้าน
ตะวันตกถึงถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกยาวประมาณ ๙.๕ กิโลเมตร มีแม่น�้าปิงไหลผ่าน
กลางเมืองในแนวเหนือ-ใต้ มีก�าแพงเมือง-คูเมืองรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (๑) สร้างในสมัย
พญาเม็งรายยังปรากฏเด่นชัดเป็นเป้าสายตาอยู่กลางเมืองบนฝั่งตะวันตกของแม่น�้าปิง
เป็นเอกลักษณ์การสร้างบ้านแปงเมืองของสังคมไทยที่ยังคงรักษาความเป็นประวัติศาสตร์
มหานครแห่งล้านนาไว้ในปัจจุบัน
ความเป็นอดีตแห่งล้านนาของมหานครเชียงใหม่ถึงแม้ว่าจะเลือนลางไปบ้างด้วย
การพัฒนาที่ละเลยในคุณค่าของความเป็นประวัติศาสตร์ ปล่อยให้คูคลองก�าแพงเมือง-คูเมือง
และคูคลองเหมืองฝายที่แสดงถึงภูมิปัญญาการสร้างบ้านแปงเมืองในอดีตต้องถูกท�าลาย
จางหายไปด้วยอาคารบ้านเรือนและถนน แต่อย่างไรก็ตามร่องรอยของความเป็นมหานคร
แห่งล้านนายังไม่ถึงกับสูญสิ้นไปเสียทีเดียว ยังคงปรากฏโดดเด่นเป็นสง่า สร้างความภูมิใจ
ในคุณค่าของความเป็นอดีตแห่งล้านนาของมหานครเชียงใหม่ เห็นได้ด้วยรูปถ่ายทางอากาศ
ตามที่น�ามาแสดงให้เห็นความเป็นจริงได้ด้วยแผนที่ซ้อนทับบนภาพจากดาวเทียมปัจจุบัน
เชียงใหม่ในอดีตเริ่มต้นที่ “เวียงเจ็ดลิน” เชิงเขาดอยสุเทพซึ่งเป็นป้อมปราการ
ธรรมชาติทางทิศตะวันตก และเมืองก�าแพงดินขนาดใหญ่บนฝั่งแม่น�้าปิง ใช้เป็นแนวป้องกัน
และเส้นทางคมนาคมทางทิศตะวันออก มีเมืองเชียงใหม่สร้างในสมัยพญาเม็งราย (1) เป็นก�าแพงเมือง-
คูเมืองล้อมรอบบริเวณบนฝั่งตะวันตกของแม่น�้าปิง เป็นเวียงรูปแบบเส้นตรงมุมเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๑.๖ x ๑.๖ กิโลเมตร และมีแนวก�าแพงเมือง-คูเมืองซ้อนเป็น
รูปโค้งมนจากมุมเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือลงมาทางทิศใต้เชื่อมต่อกับมุมเมืองด้าน
ตะวันตกเฉียงใต้ และมีก�าแพงเมือง-คูเมืองรูปสี่เหลี่ยมเแยกเป็นอิสระทางทิศตะวันตก
ของเวียงพญามังราย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดสวนดอก (2) ห่างออกไปทางทิศตะวันตกบริเวณ
เชิงดอยสองข้างถนนทางขึ้นดอยสุเทพเป็นที่ตั้งเวียงเจ็ดลิน (3) มีก�าแพงเมือง-คูเมืองล้อมรอบ
เป็นรูปวงกลมรับน�้าจากห้วยแก้วและสายน�้าใกล้เคียง พบหลักฐานการอยู่อาศัยในสมัยทวารวดี
พื้นที่ภายในเมืองเป็นที่ตั้งกรมปศุสัตว์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และพบหลักฐาน
คูคลองภูมิปัญญาการบริหารจัดการน�้าจากเวียงสันคือ (สันเหมือง) บริเวณต้นน�้าด้านทิศเหนือ
และจากเวียงเจ็ดลินเชิงดอยสุเทพด้านตะวันตก เป็นหลักฐานที่มีมาก่อนพญาเม็งรายสร้างเมือง
N เชียงใหม่ โดยใช้เวลาพ�านักอยู่ที่เวียงกุมกาม (4) ถึง ๗ ปี จนเมืองเชียงใหม่แล้วเสร็จ
1 km. l 145 145