Page 166 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 166

๐
                                                                 20  37’ N  เวียง “สันมะนะ-กาหลง”
                                                                  ๐
                                                                100  22’ E
                                                                           แหล่งเครื่องถ้วยดินเผาล้านนา
                                                                                 “เวียงสันมะนะ” และ “เวียงกาหลง” เป็นชื่อตั้งขึ้นตามชื่อชุมชนปัจจุบัน
                                                                           ที่ส�ารวจพบก�าแพงเมือง-คูเมือง  ปรากฏเด่นชัดในรูปถ่ายทางอากาศในท้องที่
                                                                           อ�าเภอเวียงป่าเป้า  จังหวัดเชียงราย  ทั้งสองเมืองมีรูปแบบเป็นเมืองป้อมภูเขา
                                                                           ตั้งอยู่บนเนินชิดขอบที่ราบลานตะพักสองฝั่งแม่น�้าลาวห่างกันเพียง ๔ กิโลเมตร
                                                                           แม่น�้าลาวไหลลงสู่แม่น�้ากกไหลผ่านเมืองเชียงรายไปออกแม่น�้าโขงที่เวียงปรึกษา
                                                                           อ�าเภอเชียงแสน  จังหวัดเชียงราย  เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบเมืองพี่เมืองน้อง
                                                                           มีพื้นที่ท�านาในบริเวณที่ราบตอนบนต้นแม่น�้าลาว เป็นลักษณะนาเหมืองนาฝาย
                                                                           ที่เป็นระบบใช้ร่วมกัน  มีเส้นทางคมนาคมตัดผ่านทิวเขาผีปันน�้าสู่แอ่งที่ราบ
                                                                           เมืองเชียงใหม่  ทางตะวันตก  และมีเส้นทางผ่านลุ่มน�้าวังไปทางตะวันออก
                                                                           ติดต่อถึงกว๊านพะเยา ระยะทางจากเวียงกาหลงประมาณ ๕๖ กิโลเมตร ชุมชน
                                                                           โบราณเวียงกาหลงเริ่มท�าการขุดส�ารวจตั้งแต่ปี  พ.ศ.  ๒๔๗๖  โดยพระยา
                                                                           พระรามนคร (สวัสดิ์ มหากายี) ได้ส�ารวจพบเตาเผาและเครื่องถ้วยจ�านวนมาก
                                                                           ในบริเวณป่ากาหลง หมู่บ้านป่าส้าน ต�าบลเวียงกาหลง และเรียกชื่อเตาเผาและ
                                                                           เครื่องถ้วยนี้ว่า  “เตากาหลงและเครื่องถ้วยกาหลง”  ซึ่งก�าหนดอายุไว้ในพุทธ
                                                                           ศตวรรษที่  ๑๙  -  ๒๑  ได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดของเครื่องปั้นล้านนา
                                              เวียง
                                         “สันมะนะ - กำหลง”                 ที่มีพัฒนาการสูงสุดและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งลวดลาย เนื้อดิน รูปทรง และ
                                                                           เทคนิคการเคลือบ

       18  53’ N
         ๐
       98  36’ E                                                           เวียงสันมะนะ
         ๐
                                                                                 “เวียงสันมะนะ”  มีก�าแพงเมือง  -  คูเมืองสร้างบนขอบเนิน  พื้นที่
       สันมะนะ                                                   19 � 12’ N  ลอนลาดสองเนิน ระหว่างเนิน มีคูขุดเชื่อมต่อถึงกัน บางส่วนท�าหน้าที่เป็นเขื่อน
       อ�าเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย                        99 � 30’ E
                                                                           กักเก็บน�้าใช้ประโยชน์ภายในเมือง เนินด้านทิศเหนือเรียกว่า “เวียงน้อย” สร้างขึ้นก่อน
                                                                           เนินด้านทิศใต้เรียกว่า “เวียงป่าบงหลวง” หรือ “เวียงหลวง” มีขนาดใหญ่กว่า
                                                                           สร้างขึ้นภายหลัง ก�าแพงเมือง-คูเมืองสร้างเป็นแบบ “พัฒนาการเมืองป้อมภูเขา”
                                                                           คูเมืองขุดลึกล้อมรอบบริเวณขอบเนินใช้ประโยชน์ในการป้องกัน  แบ่งพื้นที่
                                                                           ออกเป็นส่วน  ๆ  และขยายพื้นที่เมืองลงมาตามลาดเนินซึ่งใช้พื้นที่สร้าง
                                                                           เป็นที่อยู่อาศัยจนจรดพื้นที่ราบท�านา  ระหว่างเนินเวียงหลวงและเวียงน้อย
                                                                           เป็นหุบเนิน  พบหลักฐานคันดินเป็นเขื่อนเชื่อมระหว่างเนินปิดกั้นกักเก็บน�้า
                                                                           สร้างขึ้นในอดีต  ปัจจุบันได้บูรณะเป็นเขื่อนกักเก็บน�้าใช้ประโยชน์ส�าหรับ
                                                                           ชุมชน  เป็นตัวอย่างการพัฒนาท้องถิ่นที่ส่งผลถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญา
                                                                           การบริหารจัดการน�้าในอดีตที่เห็นได้อย่างชัดเจนในภาพ


                                                                           เวียงกาหลง
                                                                                 “เวียงกาหลง”  ตั้งอยู่บนเนินที่เป็นสันปันน�้ากั้นระหว่างลุ่มน�้าวังทาง
                                                                           ตะวันออกและลุ่มแม่น�้าลาวทางตะวันตก  ก�าแพงเมือง-คูเมืองขุดล้อมรอบ
                                                                           เนินที่เป็นสันปันน�้า  มีลักษณะเป็นแบบเมืองป้อมภูเขา  ก�าแพงเมือง-คูเมือง
                                                                           ขุดลึกเป็นแนวไปตามขอบเนินล้อมรอบบริเวณยอดเนินใช้ประโยชน์
                                                                           ในการป้องกัน  การตั้งถิ่นฐานเริ่มต้นทางด้านทิศใต้ขุดคูล้อมรอบบริเวณ
                                                                           ต่อเนื่องกันเป็นส่วนๆ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดเวียงกาหลง ภายหลังได้ขยายพื้นที่
                                                                           เพิ่มขึ้น  โดยขุดคูล้อมรอบบริเวณขอบเนินเป็นคูชั้นเดียวคันดิน ๒  ข้าง  และ
                                                                           โอบล้อมก�าแพงเมือง-คูเมืองด้านทิศใต้ของส่วนแรกจนมีแนวคูซ้อนกัน  ๓  ชั้น
                                                                           ภายหลังสุดได้ขยายส่วนของตัวเมืองด้านเหนือจนเป็นเมืองใหญ่คลุมพื้นที่

                                                                  N        ประมาณ  ๓๕๐  ไร่  โดยมีแนวก�าแพงเมือง-คูเมืองด้านตะวันออกยาวไปตาม
                                                                           แนวสันปันน�้า อยู่ในเขตการปกครองเทศบาลต�าบลเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย
                                                                           ในต�านานเมืองน่านกล่าวถึงเจ้ากรุงจีนทวงบรรณาการเป็นเครื่องถ้วยจาก
       19 � 11’ N                                               200 m.     “เมืองแช่สัก”  โดยระบุชนิดเครื่องถ้วยมีลักษณะเหมือนกับที่ผลิตได้ที่
       99 � 29’ E                                             © CNES_2009
                                                                           เวียงกาหลง  ท�าให้คิดว่าเมืองแช่สักในต�านาน อาจหมายถึงเวียงกาหลงแห่งนี้




           152 152  l
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171