Page 192 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 192

 “ภูมิลักษณ์วัฒนธรรม”
                                ่
               มรดกทีจารึกไว้บนแผ่นดิน
                                                                            ผืนแผ่นดิน...มรดกถึงลูกหลานไทย





                                                                              17 ํ 52’ N  สุโขทัย...บนเส้นทางคาบสมุทรทะเลอันดามันและทะเลจีนใต้
                                                        อุตรดิตถ์            101 ํ 51’ E
                                  แม่นํ้าวัง     แม่นํ้ายม






                                  ตาก          สุโขทัย  แม่นํ้าน่าน                                                                           สุโขทัย
                                                       พิษณุโลก


                                      แม่นํ้าปิง
                                                          พิจิตร        เพชรบูรณ์                            เมาะตะมะ
                                        กําแพงเพชร                                                                                                  พิษณุโลก
                                                                                                                           แม่สอด
                                                                                N


              15 ํ 39’ N                                                 แม่นํ้าป่าสัก   15 ํ 26’ N
              97 ํ 56’ E                                นครสวรรค์             40 km.     96 ํ 54’ E


               ่
             ทีราบเจ้าพระยาตอนบน...ดินแดนสุโขทัย


                   “ที่ราบภาคกลางตอนบน” หรือเรียกว่า “ที่ราบเจ้าพระยาตอนบน” คลุมบริเวณ
             ที่ราบลุ่มน�้าป่าสัก และบริเวณที่ราบลุ่มน�้าเจ้าพระยาซึ่งคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ มีแม่น�้า ปิง วัง
             ยม น่าน ไหลผ่านที่ราบ และรวมตัวกันเป็นแม่น�้าสายเดียว เรียกว่า แม่น�้าเจ้าพระยา ที่บริเวณ
             เมืองนครสวรรค์ หรือเรียกตามจารึกสุโขทัย  ว่า “ตีนปิง” มีบึงบอระเพ็ด เป็นต�าแหน่ง
             เป้าสายตาที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนในภาพจากดาวเทียม จากนั้นแม่น�้ากัดลึกผ่าน ”เนินตาคลี”
             จนถึงจังหวัดชัยนาท ระบายน�้าลงสู่ “ที่ราบเจ้าพระยาตอนล่าง” โดยไหลแยกออกเป็นทางน�้า
             หลายสายผ่านที่ราบ ไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทยทางแม่น�้าเจ้าพระยาและแม่น�้าท่าจีน
                   “เมืองสุโขทัย” เป็นเมืองส�าคัญในประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมเริ่มต้น
             ของชนชาติไทย ที่มีความเจริญทั้งในด้านการทหารการปกครอง ด้านการค้า ด้านวิชาการ
             ด้านภาษา  และศิลปวัฒนธรรม  สืบทอดต่อเนื่องเป็นมรดกตกทอดถึงคนไทยปัจจุบัน
             เมืองสุโขทัยตั้งอยู่ในบริเวณเชิงเขาหลวงด้านตะวันตกของแม่น�้ายมระยะทางประมาณ
             ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่ ณ ต�าแหน่งประมาณศูนย์กลางของที่ราบเจ้าพระยาตอนบน หรือ                                     สุโขทัย
             “ดินแดนสุโขทัย” ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมไปได้ทั่วสารทิศ
                   เส้นทางตะวันออก ผ่านที่ราบลุ่มแม่น�้าน่าน เมืองพิษณุโลก บริเวณภูเขาทุ่งแสลง
             หลวงออกสู่ที่ราบลุ่มน�้าป่าสัก ดินแดนพ่อขุนผาเมือง ผ่านทิวเขาเพชรบูรณ์เข้าสู่ที่ราบสูงโคราช
             บริเวณภูเวียง  และตลอดไปจนถึงฝั่งแม่น�้าโขงที่มีเส้นทางหลายสายออกสู่ทะเลจีนใต้
             โดยผ่านทางลาวและเวียดนามบนฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และทางปากแม่น�้าโขง
                   เส้นทางตะวันตก มีเส้นทางไปยังเมืองตาก ผ่านเทือกเขาถนนธงชัยไปยังอ�าเภอ
             แม่สอดบนฝั่งตะวันออกของแม่น�้าเมย  โดยฝั่งตรงกันข้ามแม่น�้าเป็นที่ตั้งเมืองเมียวดี
             ในเขตประเทศเมียนมา มีก�าแพงเมือง-คูเมืองล้อมรอบ เชื่อกันว่าเป็นเมือง “ฉอด” ในจารึกสุโขทัย




                “...เมื่อชั่วพ่อขุนรามค�าแหง เมืองสุโขทัยนี้ดีในน�้ามีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอา
             จกอบในไพร่ลู่ทางเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า
             ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส...”

                “...เบื้องตะวันออก รอดสรลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา เท้าฝั่งของเถิงเวียงจันทน์
             เวียงค�าเป็นที่แล้ว
                ...เบื้องหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรกสุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช
             ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว
                ...เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง...น หงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน
                ...เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองน... เมืองพลัว พ้นฝั่งของ เมืองชวา
             เป็นที่แล้ว...”                                                   1 ํ 24’ N
                                                  (จารึกพ่อขุนรามค�าแหง พ.ศ. ๑๘๓๕)  89 ํ 04’ E



          178 178   l
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197