Page 264 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 264
“ท่อปู่พระยาร่วง” ในจารึกก�าแพงเพชร พ.ศ. ๒๐๕๓
ปรากฏในแผนที่ยุทธศาสตร์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
การศึกษาแนวคันดินที่เห็นเป็นช่วง ๆ ก�าแพงเพชร-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตามที่
เชื่อกันมาแต่อดีตว่าสร้างขึ้นเป็นถนนจากเมืองหลวงสุโขทัยไปยังเมืองลูกหลวง สระมโนราห์
ที่ก�าแพงเพชรทางตอนใต้และที่ศรีสัชนาลัยทางตอนเหนือนั้น ทิวา ศุภจรรยา (พ.ศ. ๒๕๒๕)
ได้ศึกษาให้เข้าใจว่า คันดินที่เห็นเป็นช่วง ๆ นั้น แท้ที่จริงคือพนังในการขุดคลองชลประทาน
น�าน�้าจากแม่น�้าปิงที่เมืองก�าแพงเพชรทางตอนใต้ ไปบรรจบกับคลองทางตอนเหนือ
น�าน�้าจากด้านตะวันตกของเมืองศรีสัชนาลัย ที่บารายพระพายหลวงเมืองสุโขทัย เป็นแนว บางขลัง
เดียวกันกับ “ท่อปู่พระยาร่วง” คลองชลประทานโบราณที่กล่าวไว้ในจารึกก�าแพงเพชร
พ.ศ. ๒๐๕๓ เมื่อกว่า ๕๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้สมัยพระบาทสมเด็จพระบรม
รามาธิบดีที่ ๑ แห่งพระนครศรีอยุธยา
การศึกษาเปรียบเทียบด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศพบว่า ข้อมูลในส่วนด้าน แนวท่อปู่พระยาร่วง
ตะวันตกของแผนที่ยุทธศาสตร์ มีแนวทางน�้าจากก�าแพงเพชรถึงเขาพระศรีที่ตั้งเมือง
สังคโลก คู่ขนานกับแม่น�้ายม ซึ่งมีแนวเชื่อมต่อถึงกันที่ “เมืองธานี” เป็นชุมชนเกิดขึ้น
ภายหลังและพัฒนาเป็นที่ตั้งอ�าเภอเมืองสุโขทัยในปัจจุบัน และได้เขียนชื่อสถานที่บน
แม่น�้าปิงก�ากับไว้ ด้วยเข้าใจสับสนว่าเส้นทางน�้าดังกล่าวเป็นแม่น�้าปิง
ภาพดาวเทียมแสดงต�าแหน่งแนว “ท่อปู่พระยาร่วง” และชื่อสถานที่ตามที่ปรากฏ
ในแผนที่ยุทธศาสตร์ จากก�าแพงเพชรถึงสังคโลก ได้แก่ ก�าแพงเพชร บางพาน ทุ่งเมือง
คีรีมาศ สุโขทัย บางขลัง สระมโนราห์ ศรีสัชนาลัย และตามแนวแม่น�้าปิงจากก�าแพงเพชร ตาก
ถึงเมืองตาก ตามสถานที่จริงปัจจุบัน และน�ามาวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้
๑) แนวแม่น�้าปิงจากเมืองตากถึงเมืองก�าแพงเพชร อยู่ทางทิศตะวันตก ไม่คู่ขนาน
และไม่เชื่อมต่อกับแม่น�้ายม ตามที่แสดงไว้บนแผนที่ยุทธศาสตร์ และไม่มีทางน�้าอื่นใด
ที่จะใช้เปรียบเทียบได้ ซึ่งวิคเตอร์ เคนเนดี ใช้เป็นข้อสังเกตว่าแผนที่ยุทธศาสตร์ฯ
ส่วนนี้ขาดความแม่นย�าเปรียบเทียบกับในส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒) การวิเคราะห์ครั้งนี้ เชื่อว่าผู้ท�าแผนที่มีความแม่นย�าและเจตนาที่จะแสดงไว้ ทุ่งเมือง
ในแผนที่ ให้รู้ถึงเส้นทางน�้า “ท่อปู่พระยาร่วง” เชื่อมต่อระหว่างก�าแพงเพชรถึงเมือง
สังคโลก และ “คลองแม่ร�าพัน” มีแนวเชื่อมต่อกับแม่น�้ายมที่เมืองธานี ปัจจุบันคือสุโขทัย
ส่วนชื่อสถานที่นั้น เขียนขึ้นภายหลังเมื่อน�าเอาแผนที่เดิมมาใช้เป็นต้นฉบับ ด้วยเข้าใจผิด แม่นํ้าปิง
ว่าเส้นทางน�้าจากก�าแพงเพชร-สังคโลกแสดงในแผนที่นั้น คือแม่น�้าปิง บางพาน
๓) แผนที่ยุทธศาสตร์ครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ฉบับนี้ ท�าขึ้นจาก
ต้นฉบับเดิมแต่ครั้งที่ “ท่อปู่พระยาร่วง” ยังไม่เลือนรางไปจากความทรงจ�าของคนไทย กําแพงเพชร
ข้อมูลจากแผนที่ยุทธศาสตร์สมเด็จพระบรมรามาธิบดีที่ ๑ บาเรนต์ แจน
เทอร์วีล (Barend Jan Terwiel), พ.ศ. ๒๕๕๔ วิเคราะห์แผนที่แม่น�้าของ Francoins
Valentijn พิมพ์เผยแพร่ในช่วงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประกอบด้วย ๓ ส่วน
สังเกตเห็นได้จากมาตราส่วนของแผนที่ในแต่ละส่วนแตกต่างกัน ในสองส่วนแรก 16 ํ 20’ N
98 ํ 58’ E
แสดงข้อมูลจากปากอ่าวไทยถึงพระนครศรีอยุธยา ท�าขึ้นจากข้อมูลตามที่ชาวยุโรปได้ท�าไว้
เมื่อเข้ามาในประเทศไทย ส่วนที่ ๓ คลุมพื้นที่กว้างต่อจากพระนครศรีอยุธยาเข้าไปใน
ดินแดนอีสานทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และไม่เคยพบว่ามีแผนที่หรือรายงานที่บอก
ให้รู้ว่ามีชาวยุโรปเข้าไปถึงบริเวณส่วนที่แสดงบนแผนที่ในสมัยนั้น ประกอบกับข้อมูล
สถานที่และเส้นทางตลอดจนรูปแบบแผนที่เมื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ยุทธศาสตร์
ครั้งสมเด็จพระบรมรามาธิบดีที่ ๑ ได้สื่อให้เข้าใจถึงที่มาของการท�าแผนที่ฉบับนี้ว่า
ได้ท�าขึ้นโดยใช้ข้อมูลเลียนแบบตามต้นฉบับแผนที่ยุทธศาสตร์ ซึ่งมีใช้อยู่แล้วในสมัยนั้น
และได้สรุปเกี่ยวกับแผนที่ใช้เป็นต้นฉบับแผนที่ยุทธศาสตร์ครั้งสมเด็จพระบรมรามาธิบดี
ที่ ๑ ว่าเป็น ...แผนที่ท้องถิ่นท�ำขึ้นใช้เอง ก่อนกำรเข้ำมำของชำวยุโรป และเป็นแผนที่
ท�ำมำก่อนสมัยสมเด็จพระนำรำยณ์มหำรำช...
De Groote Siamese Rivier Me-nam, as published by Francois Valentijn (after Barend Jan Terwiel in ABHINANDANAMALA : Nandana Chutiwongs, 2010)
250 250 l