Page 12 - E-Book คู่มือการปฏิบัติงานล่าม เพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
P. 12
กระบวนการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
หากเจ้าหน้าที่และผู้เสียหายไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาเดียวกันได้แล้ว
จำาเป็นอย่างยิ่งที่ล่ามจะเป็นตัวกลางในการสื่อสาร เนื่องจากในกระบวนการ
คุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ นับตั้งแต่ขั้นตอนการเข้า
ให้ความช่วยเหลือ การคัดแยกผู้เสียหาย การให้ความช่วยเหลือเยียวยา
ทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมถึงความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย
ในการดำาเนินคดีกับผู้กระทำาความผิดและเรียกร้องสิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย
ตลอดจนการส่งกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคมอย่างปลอดภัยแล้ว เจ้าหน้าที่
จำาเป็นต้องได้รับข้อมูลต่างๆ จากผู้เสียหายให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ หากผู้เสียหาย
ที่ไม่สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ได้ ทำาให้ไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะ
ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และจะได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมือง
ซึ่งจะต้องถูกดำาเนินคดีและผลักดันกลับ แทนที่จะได้รับการช่วยเหลือ
เยียวยา และส่งกลับประเทศภูมิลำาเนาอย่างปลอดภัย บริบทของประเทศไทย
พบว่า ผู้เสียหายจำานวนไม่น้อยที่เป็นชาวต่างชาติและไม่สามารถสื่อสาร
ภาษาไทยได้ หรือสื่อสารภาษาไทยได้อย่างจำากัด ล่ามจึงเป็นผู้ที่มีบทบาท
ที่มีความสำาคัญอย่างยิ่ง ในการที่ทำาให้ผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือ
ตามกฎหมายและสิทธิต่างๆ ที่ผู้เสียหายพึงได้รับ รวมถึงมีส่วนสำาคัญ
ต่อการรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อนำาตัวผู้กระทำาความผิดมาดำาเนินคดี
การเป็นล่ามนั้น มิใช่ว่าใครที่สื่อสารได้สองภาษาแล้วจะสามารถ
กระทำาได้ทุกคน การนำาบุคคลที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาทำาหน้าที่ล่าม
อาจพบปัญหาและข้อท้าทายต่างๆ หรืออาจส่งผลกระทบทางลบ
ต่อการสื่อสารในท้ายสุด โดยพบว่าล่ามจำาเป็นเหล่านั้น ปฏิบัติงานไม่ได้
ตามมาตรฐานเท่าที่ควรจะเป็น เช่น แปลไม่ตรงกับที่ผู้พูดต้องการจะสื่อ
มีการตัดทอนข้อความหรือแต่งเสริมเติมเกินจากสิ่งที่ผู้สื่อสารต้องการจะพูด
ไม่รู้บทบาทหน้าที่ของล่าม นอกจากนี้ยังพบว่า บุคคลที่ทำาหน้าที่ล่าม
10 คู่มือการปฏิบัติงานล่ามเพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์