Page 15 - E-Book คู่มือการปฏิบัติงานล่าม เพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
P. 15
บทที่ 1 บทที่ 2 และบทที่ 3 เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
กลุ่มผู้เสียหายและกลุ่มเสี่ยง กระบวนการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหาย
และการดำาเนินคดี บทบาทล่ามในการทำางานกับทีมสหวิชาชีพ ข้อพึงระวัง
ในการปฏิบัติงาน เนื้อหาส่วนที่สอง ได้แก่ บทที่ 4 และบทที่ 5 เกี่ยวข้องกับ
ความรู้และทักษะในการแปลและการล่าม การเตรียมตัวและการรับมือ
กับสถานการณ์ต่างๆ ในการปฏิบัติงานล่าม การดูแลตนเองของล่าม
และการพัฒนาตนเองในทางวิชาชีพ และเนื้อหาส่วนที่สาม ได้แก่ บทที่ 6
หลักการปฏิบัติตนในการทำางานล่ามและจรรยาบรรณวิชาชีพล่าม ซึ่งเนื้อหา
ดังกล่าวมีทั้งส่วนที่เป็นการเขียนขึ้นมาใหม่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จาก
การจัดฝึกอบรมล่าม และการเรียบเรียงจากเอกสารที่มีการพิมพ์เผยแพร่
มาแล้ว โดยมีการปรับเนื้อหาให้เข้ากับบริบทของการปฏิบัติงานใน
ประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับล่ามเป็นหลัก โดยมุ่งหวังให้ล่าม
ได้มีความรู้ความเข้าใจถึงความแตกต่างในการใช้สองภาษา และเข้าใจว่า
เพราะเหตุใดจึงมีความยุ่งยากในการแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง
รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมในการทำางานร่วมกับวิชาชีพต่างๆ
ในการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
1.4�แนวทางการใช้คู่มือ
เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของคู่มือฉบับนี้ ต้องการให้เป็นเอกสาร
ที่อ่านเข้าใจได้โดยง่าย สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง แยกความรู้ ทักษะ
ในแต่ละบท โดยผู้ศึกษาสามารถพิจารณาเลือกบทที่ต้องการศึกษา
ได้ตามความสนใจ ตามสารบัญ นอกจากนี้ พยายามที่จะทำาให้เนื้อหา
กระชับ รวบรัด เพื่อให้ล่ามสามารถพกพาคู่มือการปฏิบัติงานนี้ไปใช้ได้
อย่างสะดวก คณะผู้จัดทำาจึงเลือกนำาเสนอแต่เพียงสาระสำาคัญโดยสังเขป
โดยมิได้ลงรายละเอียดมากเกินไป โดยผู้อ่านที่สนใจศึกษาเชิงลึกสามารถ
คู่มือการปฏิบัติงานล่ามเพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 13