Page 18 - E-Book คู่มือการปฏิบัติงานล่าม เพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
P. 18

เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ไว้ในกฎหมาย

          ของประเทศ คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
          พ.ศ. 2551 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาว่า
          การกระทำาใดอยู่ในข่ายของการค้ามนุษย์ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานล่ามจำาเป็นต้องทราบ

          เพื่อให้เข้าใจแนวทางการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูล
          เพื่อประกอบการพิจารณาคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และ

          การคุ้มครองช่วยเหลืออย่างเหมาะสมต่อไป

                  กล่าวโดยสรุป การค้ามนุษย์ หมายความถึง การกระทำา
          อันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากมนุษย์ด้วยกัน หากการกระทำานั้น
          เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ โดยมีมนุษย์เป็นวัตถุที่เป็นองค์ประกอบ

          หนึ่งของการถูกกระทำา การแสวงหาประโยชน์นั้น ย่อมเป็นการค้ามนุษย์
          ไม่ว่าจะด้วยวิธีการที่เกิดจากการบังคับ ข่มขู่ ใช้กำาลังบังคับ หรือการให้เงิน

          หรือทรัพย์สิน เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมก็ตาม

          สถ�นก�รณ์ของก�รตกเป็นผู้เสียห�ยจ�กก�รค้�มนุษย์


                  การตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือ “เหยื่อ” ของ

          อาชญากรรม อาจเกิดขึ้นได้ใน 3 สถานการณ์ ซึ่งอาจอยู่ในสถานการณ์
          ที่แตกต่างกัน คือ

                  • ต้นท�ง ผู้เสียหายถูกฉ้อฉล หลอกลวง ตั้งแต่ต้นทาง
          โดยนายหน้า ผู้ชักนำา ผู้ชักชวน ปกปิดข้อเท็จจริง หรือไม่แจ้งสภาพ

          การทำางาน หรือแจ้งสภาพการทำางานไม่ตรงกับความจริง ซึ่งหากผู้เสียหาย
          รู้สภาพการทำางานที่แท้จริงแล้วคงไม่ไปตามคำาชักชวน










    16     คู่มือการปฏิบัติงานล่ามเพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23