Page 158 - Annual Report 2552
P. 158
PDMO PUBLIC DEBT
MANAGEMENT
OFFICE
โดยสรุปแล้ว สามารถกล่าวได้ว่า สบน. ได้มีการวางกลยุทธ์การกู้เงินโดยใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันสำาหรับ
ความต้องการกู้เงินภายใต้ข้อจำากัดและเงื่อนไขของแต่ละกฎหมายที่กำากับการกู้เงินทั้ง 3 ส่วน นอกจากนั้น
สิ่งที่ สบน. ให้ความสำาคัญอย่างยิ่งก็คือ การวางแผนและออกแบบเครื่องมือในการกู้เงินโดยรวมให้เอื้อต่อการพัฒนา
ตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ซึ่งถ้าเรามองในแง่บวก ข้อดีของความต้องการกู้เงินในวงเงินมหาศาลขนาดนี้
ก็คือโอกาสที่ สบน. จะได้สร้างพันธบัตร Benchmark ทุกรุ่นอายุได้อย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ
การขยายฐานนักลงทุน การสร้างสมดุลให้ตลาดตราสารหนี้เป็น 1 ใน 3 เสาหลักทางการเงินที่แข็งแกร่งของ
ประเทศ อนึ่ง เป็นที่สังเกตได้ว่า แม้รัฐบาลมีความต้องการกู้เงินเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 270,000 ล้านบาท
ในปี 2551 เป็น 750,000 ล้านบาท ในปี 2552 แต่ สบน. สามารถวางแผนบริหารจัดการให้รัฐบาลสามารถ
กู้เงินได้ครบตามจำานวนภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งความสำาเร็จดังกล่าวเกิดจากปัจจัยหลายประการ
เช่น การสำารวจความคิดเห็นของ PDs และผู้ร่วมตลาดอย่างสม่ำาเสมอผ่านการจัดทำาการประชุมหารือ Market
Dialogue เป็นรายไตรมาส (การหารือแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับ PDs) รายครึ่งปี (การประชุมกับ PDs ทั้ง 9 ราย
และนักลงทุนรายใหญ่) และรายปี (การประชุมกับผู้ร่วมตลาดทั้งหมด) และการประชุมกับ ธปท. อย่างสม่ำาเสมอ
อาทิ การประชุมคณะทำางานเพื่อการกู้เงินและบริหารเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล การประชุมคณะทำางานพิจารณา
การกู้เงินและบริหารเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุน FIDF เป็นต้น โดยในช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า แนวทางที่ สบน.
ยึดถือมีดังนี้
1) ต้องมีความเป็นไปได้สูงสุดในการระดมเงินทุนได้ครบจำานวน และเอื้อต่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้
ในประเทศ
2) ต้องสร้างความต่อเนื่องในการออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่นที่เป็น Benchmark
3) ต้องมีความคล่องตัวสูงและสอดคล้องกับการเบิกจ่ายสำาหรับโครงการลงทุนภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง
โดยไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้โดยรวม
รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009 157