Page 156 - Annual Report 2552
P. 156
PDMO PUBLIC DEBT
MANAGEMENT
OFFICE
ปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็นพันธบัตรก่อนครบกำาหนดชำาระ ส่งผลให้การวางตารางการกู้เงินเพื่อการปรับโครงสร้าง
หนี้จึงถูกกำาหนดโดยวงเงินและช่วงเวลาของการครบกำาหนดชำาระของก้อนหนี้เดิม ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ไม่เอื้อต่อ
การสร้างพันธบัตร Benchmark ได้อย่างเป็นระบบ ดังนั้น สบน. จึงใช้เครื่องมือรอง เช่น พันธบัตรรัฐบาลที่ไม่
ชนอายุกับพันธบัตร Benchmark ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ในการปรับโครงสร้างหนี้
ดังกล่าว เนื่องจากเครื่องมือเหล่านี้ไม่จำาเป็นต้องออกอย่างสม่ำาเสมอจึงมีความยืดหยุ่นในการวางตารางกู้เงิน
ซึ่งสอดรับกับลักษณะการครบกำาหนดชำาระที่ไม่มีความสม่ำาเสมอของวงเงินปรับโครงสร้างหนี้ในส่วนที่ 2 นี้
ในส่วนที่ 3 คือ วงเงินกู้เพื่อโครงการไทยเข้มแข็ง 800,000 ล้านบาท ระหว่างปี 2552-2555
(แท่งสีเหลืองเข้มและแดง ในรูปภาพที่ 1) ซึ่งเป็นการกู้เงินเพิ่มเติมชั่วคราวก็จริง แต่เนื่องจากเมื่อนำาวงเงินกู้
โครงการไทยเข้มแข็งมารวมกับการกู้เงินประจำาปีใน 2 ส่วนแรกแล้วจะเห็นว่า รัฐบาลมีความต้องการกู้เงินสูงถึง
ปีละ 700,000 - 900,000 ล้านบาท ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ดังนั้น ความท้าทายสำาคัญในช่วงเวลานี้คือ กู้เงินเพื่อ
โครงการไทยเข้มแข็งอย่างไรให้ครบตามจำานวน มีต้นทุนที่เหมาะสม โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการกู้เงินโดยรวม
ของรัฐบาล ในการนี้เครื่องมือหลักที่ สบน. ใช้ในการกู้เพื่อโครงการไทยเข้มแข็งคือ การออก Bank loan อายุ
ต่ำากว่า 2 ปี อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FDR+spread) โดย สบน. จะทำาการเปิดวงเงินไว้กับกลุ่มธนาคารที่ชนะ
การประมูลครั้งละ 30,000-50,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน และจะมีการทยอยเบิกจ่ายครั้งละ 2,500-
4,000 ล้านบาท ทุก 1 ถึง 2 สัปดาห์ ซึ่งสอดรับกับลักษณะของการเบิกจ่ายของโครงการไทยเข้มแข็งที่มี
วงเงินขนาดเล็ก มีการเบิกจ่ายถี่ และมีความไม่แน่นอนในการเบิกจ่ายสูง โดยในครั้งแรกที่มีการทำา Bank loan
ในเดือน ก.ย. 2552 อัตราดอกเบี้ย Bank Loan อยู่ที่ร้อยละ 1.56 ต่อปี และในขณะที่ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
อัตราดอกเบี้ย Bank loan กลับลดต่ำาลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.42 ต่อปี ในช่วงกลางปี 2553 ซึ่งเป็นเครื่องชี้ว่า
ช่องทางการทำา Bank loan มีการแข่งขันสูงและเป็นที่ต้องการของสถาบันการเงิน และเมื่อโครงการไทยเข้มแข็งมี
10
การเบิกจ่ายสะสมเป็นจำานวนพอสมควรแล้ว สบน. ก็จะทำาการปรับโครงสร้างหนี้ Bank loan เป็นเครื่องมืออื่น
ที่เหมาะสมต่อไป
3) การยกเลิก พ.ร.บ. 400,000 ลบ. ไม่ส่งผลกระทบต่ออุปทานของพันธบัตร Benchmark
1 ปีให้หลัง ในช่วงเดือน เม.ย. 2553 รัฐบาลได้ยกเลิก พ.ร.บ. 400,000 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่า ในปี
2552 เศรษฐกิจไม่เลวร้ายอย่างที่คาดการณ์ โดยมีการหดตัวเพียงร้อยละ 2.3 จากที่ประมาณการว่าจะหดตัว
ร้อยละ 3.5 นอกจากนั้น การจัดเก็บรายได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (ต.ค. 2552 - มี.ค.
2553) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 24 หรือ 128,896 ล้านบาท (ส่งผลให้รายได้สุทธิในช่วง
ครึ่งปีแรกเท่ากับ 675,488 ล้านบาท) ดังนั้น จึงไม่มีความจำาเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมนอกงบประมาณ
ซึ่งการปรับลดความต้องการกู้เงินถึง 400,000 ล้านบาท เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร
รัฐบาลในตลาดรองลดลงกว่า 40 basis points ในช่วงการประกาศยกเลิก พ.ร.บ. เนื่องจากตลาดกลัวว่าอุปทาน
ของพันธบัตรรัฐบาลจะถูกปรับลดวงเงินลง โดยรูปภาพที่ 2 แสดงให้เห็นว่าการกู้เงินเพื่อโครงการไทยเข้มแข็งนั้น
อยู่ภายใต้การก่อหนี้นอกงบประมาณ ซึ่ง สบน. ได้ใช้เครื่องมือ Bank Loan ในการกู้เงินไม่ใช่พันธบัตรรัฐบาล
ดังนั้น การยกเลิก พ.ร.บ. 400,000 ล้านบาท จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เลยต่ออุปทานของพันธบัตรรัฐบาล
แต่กลับจะส่งผลดีอย่างน้อย 2 ประการสำาคัญ คือ
10 กรณีแรกของการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ Bank Loan ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งคือการสะสมการเบิกจ่ายประมาณ 100,000 ล้านบาท
และปรับโครงสร้างหนี้เป็นพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1 จัดจำาหน่ายระหว่างวันที่ 7 – 11 มิ.ย.
2553
รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009 155