Page 152 - Annual Report 2552
P. 152

PDMO         PUBLIC DEBT

                                                                                                     MANAGEMENT
                                                                                                     OFFICE







            เนื่องจากนักลงทุนของพันธบัตรออมทรัพย์เป็นนักลงทุนรายย่อยซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับนักลงทุนของตลาด

            พันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์และนักลงทุนสถาบัน  ทั้งนี้เพื่อลดแรงกดดันต่ออุปทานรวมของพันธบัตร
            รัฐบาล (Loan Bond) อย่างกะทันหันในคราวเดียว

                    พร้อมกันนั้น สบน. ยังได้มีการแจกแจงประมาณการความต้องการกู้เงินรายปีไปจนถึงปีงบประมาณ
            พ.ศ. 2555 ที่ประกอบไปด้วยการกู้เงินเดิมที่มาจากการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและปรับโครงสร้าง

            หนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำาหนดไถ่ถอนในแต่ละปี รวมถึงการกู้เงินเพิ่มเติมภายใต้ พ.ร.ก. และ พ.ร.บ. เพื่อให้
            ตลาดเห็นถึงอุปทานอย่างครบถ้วน โดยรูปภาพที่ 1 แสดงให้เห็นถึงการกู้เงินในระยะ 3 ปีข้างหน้า ที่รวมวงเงินกู้

            เพื่อโครงการไทยเข้มแข็ง 800,000 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการดำาเนินการดังกล่าวก็สามารถสร้าง
            ความเข้าใจและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ร่วมตลาด เห็นได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลใน

            ตลาดรองตราสารหนี้ที่ทยอยปรับตัวลดลงตามลำาดับ อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อมาของตลาดในขณะนั้นคือ
            รัฐบาลจะใช้เครื่องมือใดในการกู้เงินที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นกว่าปีละ 700,000 - 900,000 ล้านบาท ในช่วง 3 ปี

            ข้างหน้า (2552 - 2555) ทั้งที่ในปี 2551 มีการกู้เงินเพียง 270,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งโจทย์นี้เป็นบททดสอบ
            สำาคัญของกลยุทธ์ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศภายใต้แนวทางใหม่ เพื่อสร้างสภาพคล่องในตลาดรอง
                                                                                7
            ซึ่ง สบน. เชื่อมั่นว่าการเพิ่มสภาพคล่องในตลาดรองจะเป็นปัจจัยสำาคัญในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
            เป็นแหล่งระดมทุนที่ยั่งยืน กล่าวคือ สามารถกู้เงินได้ครบจำานวนภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม







































            7 กลยุทธ์หลัก 3 ประการที่ สบน. เริ่มดำาเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เพื่อสร้างพันธบัตร Benchmark อย่างเป็นระบบ
            คือ (1) การเพิ่มขนาดของพันธบัตร Benchmark ให้สูงถึง 60,000 - 100,000 ล้านบาท ต่อรุ่นอายุ (2) การเพิ่มวงเงินการประมูลเป็น
            10,000 - 15,000 ล้านบาท ต่อครั้ง และ (3) การลดความถี่จากการประมูลทุกสัปดาห์เป็นเดือนเว้นเดือน (ที่มา : บันทึกข้อความที่
            กค 0908/สพต 53 ลงวันที่ 16 ส.ค. 2550)




                                                                           รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009  151
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157